กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4298
ชื่อเรื่อง: การกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Determining the position of School Directors and Educational Institution Administrators to be the person responsible for submitting the declaration of the assets and liabilities to the National Anti-Corruption Commission (NACC)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันวิสาข์ สัมพันธ์, 2530- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้อำนวยการโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน
ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา--ไทย
การฉ้อราษฎร์บังหลวง--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต คอร์รัปชัน และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (2) เพื่อศึกษาปัญหาการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (3) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบมาตรการการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของประเทศไทยกับต่างประเทศ (4) เพื่อเสนอตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้องกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพิ่มเติม และเสนอวิธีการวางระบบการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กฎหมายของต่างประเทศ บทความทางวิชาการ เอกสารหนังสือ รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และการสร้างความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นเครื่องมือที่ดีในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและป้องกันการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ (2) ปัญหาการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังไม่ครอบคลุมถึงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา (3) มาตรการการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของต่างประเทศได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่งต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน รวมถึงมีการกระจายอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการรับยื่นบัญชีฯ การจัดวางระบบการยื่นบัญชีให้กระจายไปสู่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งทำให้กระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินรวดเร็วมีประสิทธิภาพ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงาน (4) ต้องเสนอตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้องกำหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพิ่มเติม ได้แก่ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษาและเสนอวิธีการวางระบบการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4298
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons