Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4302
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิทยา ปะดุกา, 2505--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-15T03:25:51Z-
dc.date.available2023-03-15T03:25:51Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4302-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ กรณีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการให้ความคุ้มครองข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บาเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2553 ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากทางราชการในการเปิดเผยข้อมูล และคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฐานความผิดที่จะได้รับความคุ้มครอง บุคคลที่จะได้รับความคุ้มครอง รวมถึงองค์กรผู้มีอำนาจให้ความคุ้มครอง และมาตรการให้ความคุ้มครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์และงานวิจัยทางวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมและนำมาวิเคราะห์ในการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมาตรการกฎหมายในการให้ความคุ้มครองข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการของประเทศไทย ได้มีการกำหนดฐานความผิดผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองหากได้ให้ข้อมูลไว้เพียงฐานเดียวเท่านั้นคือความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อตาแหน่งหน้าที่ราชการและตัวบุคคลที่จะได้รับความคุ้มครองซึ่งระบุเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่รวมถึงบุคลากรประเภทอื่น บุคคลในครอบครัวหรือผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอันส่งผลต่อการที่ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องตัดสินใจจะให้ข้อมูลหรือให้การเป็นพยาน อีกทั้งองค์กรผู้มีอำนาจที่ให้ความคุ้มครองมีหลายระดับอันเป็นผลให้การใช้ดุลยพินิจที่ขัดกันได้ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2553 ในส่วนฐานความผิดผู้ที่จะได้รับการคุ้มครอง การขยายการให้ความคุ้มครองไปยังบุคลากรประเภทอื่น บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและบัญญัติให้มีองค์กรที่เป็นอิสระเป็นผู้มีอำนาจให้ความคุ้มครอง ตลอดจนให้มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ให้ข้อมูล โดยนำหลักการของกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะ สำหรับการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการมาปรับใช้กับประเทศไทยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectพยานบุคคล--การคุ้มครองth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการกรณีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551th_TH
dc.title.alternativeLegal issues pertaining to providers of useful information under the Civil Service Act B.E.2551en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeIndependent Study on Legal Issues Pertaining to Providers of Useful Information Under The Civil Service Act B.E. 2551 is intended to study the problem of protection providing to the civil servants who provide the useful information to the bureaucracy according to the Civil Service Act BE 2551, together with the Civil Service Commission Regulation (CSC Regulation) on Rules and Procedures for granting rewards, witness designation, reduction of punishment and protection of witnesses B.E. 2553 prescribed that the Civil Service who apply to be informant which is beneficial to the government, has the right to receive official protection from disclosure and protect the public interest. By studying law enforcement issues related to the offense bases to be protected and the person who will be protected including a competent authority to provide protection as well as the protection measurements. This independent study is a qualitative research with documentary research by studying from texts, articles, theses and academic researches both in Thai and foreign languages, including relevant regulations and laws, data collecting and analyzing is the tool of research implementation. The study indicated that current legislative measures on providing protection to civil servants who provided the beneficial information to the government of Thailand has set offenses only a single base offence which is a gross breach discipline of malfeasant performing or refraining to perform official duties. And the person to be protected, specified to a civil servant for informational purposes only, does not include other types of officers, family members or persons with closed relation that affect the civil service's decision to provide information or testify. Also, the authorized organization has multiple levels of protection which caused the conflict of discretion. The suggestion of this research is to amend the Civil Service Act B.E.2551 and the Civil Service Commission Regulation (CSC Regulation) on Rules and Procedures for granting rewards, witness designation, reduction of punishment and protection of witnesses B.E. 2553. For the persons that would be covered should be extended the protection to other officers and person involved and stipulated to set up independent organization to provide the protection particularly. As well as providing measure to protect the data provider, by adopting the principles of international law, including the United States, England and South Korea which have specific laws for the protection of government officials who provide useful information to the government to apply in use to Thailanden_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons