กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4302
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการกรณีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal issues pertaining to providers of useful information under the Civil Service Act B.E.2551 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภาณุมาศ ขัดเงางาม วิทยา ปะดุกา, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี พยานบุคคล--การคุ้มครอง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ กรณีตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการให้ความคุ้มครองข้าราชการ พลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2553 ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากทางราชการในการเปิดเผยข้อมูล และคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ โดยศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับฐานความผิดที่จะได้รับความคุ้มครอง บุคคลที่จะได้รับความคุ้มครอง รวมถึงองค์กรผู้มีอำนาจให้ความคุ้มครอง และมาตรการให้ความคุ้มครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา บทความ วิทยานิพนธ์และงานวิจัยทางวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมและนำมาวิเคราะห์ในการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมาตรการกฎหมายในการให้ความคุ้มครองข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการของประเทศไทย ได้มีการกำหนดฐานความผิดผู้ที่จะได้รับความคุ้มครองหากได้ให้ข้อมูลไว้เพียงฐานเดียวเท่านั้นคือความผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและตัวบุคคลที่จะได้รับความคุ้มครองซึ่งระบุเฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่รวมถึงบุคลากรประเภทอื่น บุคคลในครอบครัวหรือผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอันส่งผลต่อการที่ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องตัดสินใจจะให้ข้อมูลหรือให้การเป็นพยาน อีกทั้งองค์กรผู้มีอำนาจที่ให้ความคุ้มครองมีหลายระดับอันเป็นผลให้การใช้ดุลยพินิจที่ขัดกันได้ โดยมีข้อเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการให้บำเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษ และการให้ความคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2553 ในส่วนฐานความผิดผู้ที่จะได้รับการคุ้มครอง การขยายการให้ความคุ้มครองไปยังบุคลากรประเภทอื่น บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องและบัญญัติให้มีองค์กรที่เป็นอิสระเป็นผู้มีอำนาจให้ความคุ้มครอง ตลอดจนให้มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ให้ข้อมูล โดยนำหลักการของกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะ สำหรับการให้ความคุ้มครองข้าราชการผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการมาปรับใช้กับประเทศไทย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4302 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License