กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4306
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The participation of community networks in sustainable poverty problem solving og Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญน้อม ศิลาอาสน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
เครือข่ายองค์กรชุมชน
ความจน--ไทย--ตราด
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพึ่อศึกษาระดับความสำเร็จของการมีส่วนร่วมเครือข่าย องค์กรชุมชนในการทำงานแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน (2) เพึ่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของ เครือข่ายองค์กรชุมชนในการทำงานร่วมกับภาคีการพัฒนาและ (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางและวิธีปฏิบัติงาน ของเครือข่ายองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนให์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายองค์กรชุมชน 18 เครือข่าย ขนาดของตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของยามาเน (Yamane) ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซนต์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามคณะกรรมการและสมาชิก เครือข่ายจำนวน 400 คน แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับ จังหวัด สถิตที่ใช้ในการทดสอบความเชื่อถือของคำถามและคำตอบใช้เทคนิคสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (Cronbach’s Alpha) ได้คำ Alpha = .9596 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใชัโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และข้อมูลคุณภาพใช้วิเคราะห์เนี้อหา ผลการทดสอบสมมตฐานที่ 1 โดยใช้ t-lest พบว่าความสำเร็จการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กร ชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยึนจังหวัดตราด ต่ำกว่าร้อยละ 80 เป็นการปฏิเสธสมมติฐาน (P=.000, t = -19.257) สมมตฐานที่ 2 ปัจจัยที่ประกอบไปด้วย แรงจูงใจ การได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจน การได้รับสนับสนุนทรัพยากร การมีส่วนร่วมของประชาชน มือิทธิพลต่อ ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนจังหวัดตราด ใช้วิเคราะห์เชิงถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน (Regression Model stepwise) สามารถอธิบายความผันแปร ประสิทธิผลการมีส่วนร่วนของเครือข่ายองค์กรชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยึนจังหวัดตราด ได้ ร้อยละ 57.3 โดยมีนัยสำคัญทางสถิต ณ ระดับ .05 (R2 = .573 , P = .000) ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัย การมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชนอยู่ในระดับดี จงควรสนับสนุน การมีส่วนร่วมโดย ด้านแรงจูงใจ ควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน จัดสวัสดิการ เช่น จัดให้มีค่า รักษาพยาบาล ค่าณาปณกิจศพ ค่าตอบแทน ให้รางวัล และประกาศเกียรติคุณ ยกย่องชมเชย ด้านการได้รับ ความรู้ความเข้าใจเที่ยวกับนโยบาย ควรมีการ จัดประชุมสัมมนาเจ้าหนัาที่ให้ทราบถึงนโยบายในการปฏิบัติงาน และทำงานร่วมกับเครือข่าย ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร มีบทเรืยนตัวอย่างที่ดี ( Best Practice) ติดตามและประเมินผลงาน ด้านทรัพยากร สนับสนุนทรัพยากร ได้แก่ งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ตามความ เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานและทันต่อเวลาที่จะใช้กระตุ้นให้มีการนำทรัพยากรไปใช้ให์เกิดประโยชน์สูงสุด ดัดแปลงทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให์สอดรับกับแผนงานโครงการ ช่วยเหลือทางด้านเงินทุน สนับสนุน เทคโนโลยึที่ทันสมัย ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนทัองถิ่น หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนกระตุ้น/สนับสมุนให์ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเปิดโอกาสให์ทุกคนและ ทุกกลุ่มในชุมชนเข้าร่วม อาจจะอยู่ในรูปของการมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยมีตัวแทนกีได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4306
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105693.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons