กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4313
ชื่อเรื่อง: ความต้องการหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for training program on the use of computer programs for the personnel of Pa Mok Hospital in Ang Thong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกอมร มีสมศักดิ์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล--ความต้องการการฝึกอบรม
โปรแกรมคอมพิวเตอร์--การฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่อง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรโรงพยาบาลป่าโมก จำนวน 172 คน ที่ปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความต้องการหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ความต้องการหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่อง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีรายละเอียดดังนี้ (1) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความต้องการในระดับต่าง ๆ ดังนี้ (1.1) ระดับมากที่สุด คือ คุณสมบัติของวิทยากรต้องมีความตั้งใจในการให้ความรู้กับผู้รับการฝึกอบรม (1.2) ระดับมาก คือ ปรัชญาการฝึกอบรมนำความรู้สู่องค์กรด้วยการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมมีทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาคุณภาพงาน หลักสูตรการฝึกอบรมที่ต้องการ คือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการรักษาภายในโรงพยาบาล และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลคำและจัดรูปแบบอักษร คุณสมบัติของผู้รับการฝึกอบรมต้องเป็นผู้ที่ต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วิทยากรมีคุณสมบัติและบทบาทในการถ่ายทอดความสามารถและเนื้อหาสาระและมีบุคลิกภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสม วันในการฝึกอบรมควรเป็นวันจันทร์ถึงวันศุกร์ในเวลาราชการ สถานที่ในการฝึกอบรมควรใช้ห้องประชุมของโรงพยาบาลจัดที่นั่งแบบห้องเรียน ห้องมีขนาดกว้างขวางและมีสิ่งอำนวยความสะดวก บรรยากาศในการฝึกอบรมวิทยากรต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับการฝึกอบรม และ (1.3) ระดับปานกลาง คือ จำนวนวันที่ฝึกอบรมควรมีระยะเวลา 1-2 วัน วันละ 3 ชั่วโมง มีจำนวนผู้รับการฝึกอบรม 10-15 คน (2) ด้านกระบวนการ มีระดับมากทุกข้อ คือ วิธีการฝึกอบรมแบบการลงมือปฏิบัติ รูปแบบการฝึกอบรม มีวิทยากรเป็นศูนย์กลาง สื่อการฝึกอบรม ได้แก่ เอกสารประกอบการฝึกอบรมและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมควรมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และมีการประเมินความพึงพอใจด้วยแบบสอบถาม และ (3) ด้านผลลัพธ์ มีระดับมากทุกข้อ คือ ด้านความรู้ต้องการให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น ด้านทักษะสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้อง ด้านประสิทธิภาพมีการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และด้านทัศนคติสามารถสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4313
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_145126.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons