กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4328
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองบัวระเหว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Academic leadership of school administrators in Nong Bua Rawe District under Chaiyaphum Primary Education Service Area Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์
พิทรัตน์ บรรจงงาม, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
ผู้บริหารโรงเรียน
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในอำเภอหนองบัวระเหว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และ (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในอำเภอหนองบัวระเหว สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนของสถานศึกษาในอำเภอหนองบัวระเหว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยปรากฎว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอหนองบัวระเหว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการจัดให้มีสิ่งจู งใจให้กับครู และ (2)ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกันมีภาวะผู้นำทางวิชาการไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการนิเทศ และประเมินผลการสอน ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน และด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู โดยผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่มีภาวะผู้นำทางวิชาการสูงกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดเล็ก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4328
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
full_text145420.pdf14.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons