Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4343
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร สุทันกิตระth_TH
dc.contributor.authorวิชา สิทธิวงษ์, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-15T06:18:02Z-
dc.date.available2023-03-15T06:18:02Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4343en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองของ เอ็น จี โอ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายหรือขอบเขตของการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองของ เอ็น จี โอ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกับระบบกฎหมายของประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมนี ที่มีระบบศาลปกครอง เพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหาหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณาสั่งคำฟ้องของศาลปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้างานวิจัย วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ บทความ ตำรากฎหมาย ตัวบทกฎหมาย ฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองไทย ผลจากการศึกษาพบว่า การพิจารณาถึงสิทธิในการฟ้องคดีปกครองของไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ซึ่งพิจารณาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ของผู้เสนอคำฟ้อง ตามหลักการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย โดยศาลปกครองของไทยไม่ยอมหลักการฟ้องคดีโดยประชาชน แต่ก็มิได้ถึงขนาดให้ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่สิทธิถูกกระทบกระเทือน เพียงแค่เป็นผู้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอย่างแท้จริง หรือเพียงอาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายในเวลาอันใกล้เท่านั้น โดยจะพิจารณาแยกการเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามลักษณะของประเภทคดี ในทำนองเดียวกับการฟ้องคดีปกครองของประเทศฝรั่งเศสสำหรับการฟ้องคดีปกครองขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็น จี โอ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนนอกภาครัฐ จัดตั้งเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองทางหนึ่ง การดำเนินกิจการขององค์กร เอ็น จี โอ จึงอาจต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลคุ้มครองสิทธิตามขอบวัตถุประสงค์หรือเพื่อการคุ้มครองประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วย ดังนั้น การพิจารณาการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีขององค์กร เอ็น จี โอ จึงไม่อาจนำหลักการเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับเรื่องที่นามาฟ้องประการเดียวมาพิจารณาได้อย่างเพียงพอ จึงต้องนำหลักการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะมาร่วมพิจารณาด้วย ดังเช่นที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนีได้นำมาใช้กับองค์กรเอกชนในคดีสิ่งแวดล้อม แต่ในประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเสนอให้บัญญัติกฎหมายเพื่อให้สามารถนำหลักการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือ เพื่อสาธารณะมาใช้ในการฟ้องคดีปกครองของประเทศไทยด้วย หากองค์กรเอกชนนั้นเห็นว่าการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กรนั้นได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการฟ้องth_TH
dc.subjectคดีและการสู้คดีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองของ เอ็น จี โอth_TH
dc.title.alternativeInterested person of NGOs to action in administrative caseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study has two objectives as follows: 1) to study the meaning or the scope of the interested person of NGOs in filing administrative cases, according to the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999); and 2) to make comparative study with administrative court system in France, and Germany, in order to recommend the amendment of related laws and regulations as well as proper rules or means for the Court in the receipt of plaint. The independent research is the Qualitative Research in the form of documentary research, by reviewing legal research, legal theses, legal independent research, academic articles, legal textbooks, legal provisions, electronic sources, and court orders and judgments. The study found that the right to file an administrative case in Thailand is prescribed in Section 42 paragraph one of Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999), according to the Act the plaintiff is a person who is aggrieved or injured or may be unavoidably aggrieved or injured, according to the principle of interested persons. The Thai Administrative Court does not apply the principle of Actio Popularis. However, the Court does not view that the plaintiff shall be the person whose rights was affected, but the plaintiff shall be the person who is genuinely aggrieved or injured, or may be aggrieved or injured shortly. In addition, the Court will categorize the types of plaintiffs depending on the types of cases as those of France administrative law system. In the meanwhile, NGOs or Non – Governmental Organization is the private organization established to work for the public interests, and to support the operation of public service provided by the State. The NGOs may file a case to the Administrative Court, on behalf of other people, to protect the rights under the NGOs’ objectives or protect the public interest, or public benefits. Then, the principle of interested person merely is not sufficient to consider the rights to file the case of NGOs, but the principle of rights to file the case for the public interests or public benefits should also be considered, as those found in the filing of environmental cases in France and Germany. In Thailand, there is no such legal provision. Therefore, the researcher recommends that there should be the legal provisions allowing the rights to file the case for the public interests or public benefits to the Thai Administrative Court in the event that the NGOs, found that the State agency abuses the power or omits the act or performs duties with unreasonably delay.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons