กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4343
ชื่อเรื่อง: การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองของ เอ็น จี โอ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Interested person of NGOs to action in administrative case
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราพร สุทันกิตระ
วิชา สิทธิวงษ์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การฟ้อง
คดีและการสู้คดี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองของ เอ็น จี โอ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายหรือขอบเขตของการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการฟ้องคดีปกครองของ เอ็น จี โอ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกับระบบกฎหมายของประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมนี ที่มีระบบศาลปกครอง เพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหาหลักเกณฑ์หรือแนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณาสั่งคำฟ้องของศาลปกครอง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้างานวิจัย วิทยานิพนธ์ สาระนิพนธ์ บทความ ตำรากฎหมาย ตัวบทกฎหมาย ฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองไทย ผลจากการศึกษาพบว่า การพิจารณาถึงสิทธิในการฟ้องคดีปกครองของไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ซึ่งพิจารณาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ของผู้เสนอคำฟ้อง ตามหลักการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย โดยศาลปกครองของไทยไม่ยอมหลักการฟ้องคดีโดยประชาชน แต่ก็มิได้ถึงขนาดให้ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้ที่สิทธิถูกกระทบกระเทือน เพียงแค่เป็นผู้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอย่างแท้จริง หรือเพียงอาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายในเวลาอันใกล้เท่านั้น โดยจะพิจารณาแยกการเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามลักษณะของประเภทคดี ในทำนองเดียวกับการฟ้องคดีปกครองของประเทศฝรั่งเศสสำหรับการฟ้องคดีปกครองขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็น จี โอ ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนนอกภาครัฐ จัดตั้งเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะของฝ่ายปกครองทางหนึ่ง การดำเนินกิจการขององค์กร เอ็น จี โอ จึงอาจต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลคุ้มครองสิทธิตามขอบวัตถุประสงค์หรือเพื่อการคุ้มครองประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ อันเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วย ดังนั้น การพิจารณาการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีขององค์กร เอ็น จี โอ จึงไม่อาจนำหลักการเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับเรื่องที่นามาฟ้องประการเดียวมาพิจารณาได้อย่างเพียงพอ จึงต้องนำหลักการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะมาร่วมพิจารณาด้วย ดังเช่นที่ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมนีได้นำมาใช้กับองค์กรเอกชนในคดีสิ่งแวดล้อม แต่ในประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเสนอให้บัญญัติกฎหมายเพื่อให้สามารถนำหลักการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมหรือ เพื่อสาธารณะมาใช้ในการฟ้องคดีปกครองของประเทศไทยด้วย หากองค์กรเอกชนนั้นเห็นว่าการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร อยู่ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กรนั้นได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4343
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons