Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/434
Title: การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
Other Titles: Political participation of Karen Hill tribe people in Muang district, Chiang Rai Province under the 1997 constitution of the Kingdom of Thailand
Authors: รุ่งพงษ์ ชัยนาม
วรพันธ์ อินทร์ปัญญา, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล
ฐปนรรต พรหมอินทร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย -- เชียงราย
ชาวเขา -- ไทย -- เชียงใหม่ -- กิจกรรมทางการเมือง
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง (2) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคมปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองและ (4) แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาฌาจักรไทย พ.ศ. 2540 กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัย คือ ชาวเขาเผ่ากระเหรียงที่ได้รับสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป พื้นที่ตำบลแม่ยาวและตำบลดอยสาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 330 คนเครี่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยต้านสังคม ปัจจัยต้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านการเมือง (2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อย (3) ปัจจัยส่วนบุคลไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่วนปัจจัยด้านสังคม คือ การเข้าร่วมประชุมประจำหมู่น้าน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ คือ รายได้ต่อเดือน และปัจจัยด้านการเมือง คือ การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง (4) แนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงมีความคิดเห็นว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอปัญหาและความต้องการพัฒนากับ ผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงและควรให้มีการศึกษาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่นกับนักเรียน และประชาชนเพิ่มมากขึ้นในระดับมากที่สุด
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/434
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
101785.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons