กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4364
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์และสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เรื่องการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปี พ.ศ.2547-2556
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The analysis and synthesis of theses and independent studies on academic affairs administration in school submitted to state universities in the North Eastern Region during B.E. 2547-2556
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชยานนท์ ไพโรจน์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิจัยเชิงปริมาณ
สถาบันอุดมศึกษา--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะงานวิจัยด้านการบริหารวิชาการในสถานศึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงปี 2547-2556 และ (2) วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ เรื่องการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงปี พ.ศ. 2547-2556 โดยได้จากการสืบค้นจากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเดิมเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์งานวิจัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และการสังเคราะห์เนี้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ในช่วงปี พ.ศ. 2547 - 2556 วิทยานิพนธ์และการค้นควัาอิสระที่สำรวจได้มีจำนวน 167 เรื่อง เป็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคามมากที่สุด คือจำนวน 27 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 16.17 ปีที่พิมพ์เผยแพร่วิทยานิพนธ์มากที่สุด คือ ปี พ.ศ. 2551 มีจำนวน 27 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 16.17 ขนาดจำนวนประชากร/กลุ่มตัวอย่างของวิทยานิพนธ์ส่วนมาก คือ จำนวนมากกว่า 200 คน มีจำนวน 120 เรื่อง คิดเป็นร้อย 71.85 และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนมากเป็นแบบสอบถาม มีจำนวน 148 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.62 (2) ส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาสภาพปัญหาบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาโดยใช้แบบสอบถามมาตร ส่วนประมาณค่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยประเด็นการวิเคราะห์มีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องของการวิเคราะห์ตัวแปร กรอบแนวคิด วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ระดับการศึกษาของประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4364
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
full_text148521.pdf23.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons