Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/436
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คนองยุทธ กาญจนกูล | th_TH |
dc.contributor.author | สำลี คิมนารักษ์, 2505- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-10T10:25:37Z | - |
dc.date.available | 2022-08-10T10:25:37Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/436 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้างานกับพยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ (4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ (5) หาปัจจัยที่ทำนาย ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้างานทั้งหมดจำนวน 24 คน และพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากหอผู้ป่วย/งานบริการ 24 หน่วย จำนวน 127 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นว่า ได้รับปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัจจัยเป็นรายด้าน พบว่า ได้รับปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานด้านความรับผิดชอบในงาน และด้านความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก และได้รับปัจจัยคํ้าจุนด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านวิธีการปกครองบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ด้านสภาพการทำงานด้านผลประโยชน์เกื้อกูล และด้านเงินเดือน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านความมั่นคงและปลอดภัยในงานได้รับอยู่ในระดับปานกลาง (3) พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้างานมีความพึงพอใจในการปฏิปัติงานมากกว่าพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ส่วนสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (5) ปัจจัยที่สามารถทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ คือ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตำแหน่งในการปฏิบัติงาน และอายุ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 52.2 จากการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการปรับปรุงบรรยากาศในการปฏิบัติงาน มีการกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการ ให้การ สนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรและกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพพยาบาลให้ชัดเจน จะมีผลทำให้เกิด ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพยิ่งขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | th_TH |
dc.title | การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study was a cross-sectional analytical research. The objectives of this study were (1) to study the level of job satisfaction of the professional nurses; (2) to study the opinions concerning about factors influenced to job satisfaction of the professional nurses; (3) to compare job satisfaction between the head nurses and incharged nurses; (4) to analyze the correlation between factors influenced to job satisfaction and job satisfaction of the professional nurses; (5) to identify factors predicting job satisfaction of the professional nurses. The studied population consisted of two professional nurses groups in The Nurse Department of Nakompathom Hospital. The first group was 24 head nurses and the second group was the 127 incharged nurses which were selected by stratified random sampling from 24 nursing care units. Questionaires using in this study were tried out with the reliability at 0.97. Means, percentage, standard diviation, t-test, Pearson Product Moment Correlation and Multiple Regression Analysis were used in statistical analysis. The findings were as follow ะ (1) the professional nurses had job satisfaction in general and each item at a high level; (2) the professional nurses were of their opinions that they had acquired the motivation factors and the hygiene factors in general at high level. Each item of the opinion was at a high level excepted for the job security and safety which were in moderate level; (3) the head nurses had job satisfaction more than incharged nurses with statistical significantly difference (p<0.001); (4) there was a positively correlation of personal factor including age, working duration, working position level, motivation factors, and hygiene factors and job satisfaction whereas there was a negatively correlation of marital status and job satisfaction; (5) the factors which could be used for the prediction of the job satisfaction of the professional nurses at 52.2 percents were motivation factors and personal factors concerning working position level and age. Improvement of work atmosphere, management authority delegation, support of development personnel and scope of road map of nurses profession were the recommendations of this research which could influence to higher job satisfaction of the professional nurses | en_US |
dc.contributor.coadvisor | พรทิพย์ เกยุรานนท์ | th_TH |
Appears in Collections: | Health-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License