Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/436
Title: การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนครปฐม
Authors: คนองยุทธ กาญจนกูล
สำลี คิมนารักษ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พรทิพย์ เกยุรานนท์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พยาบาลวิชาชีพ
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้างานกับพยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการ (4) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ (5) หาปัจจัยที่ทำนาย ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ประชากรที่ศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพในกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้างานทั้งหมดจำนวน 24 คน และพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากหอผู้ป่วย/งานบริการ 24 หน่วย จำนวน 127 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นว่า ได้รับปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัจจัยเป็นรายด้าน พบว่า ได้รับปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จของงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานด้านความรับผิดชอบในงาน และด้านความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก และได้รับปัจจัยคํ้าจุนด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านวิธีการปกครองบังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน ด้านสภาพการทำงานด้านผลประโยชน์เกื้อกูล และด้านเงินเดือน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านความมั่นคงและปลอดภัยในงานได้รับอยู่ในระดับปานกลาง (3) พยาบาลวิชาชีพระดับหัวหน้างานมีความพึงพอใจในการปฏิปัติงานมากกว่าพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (4) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจและปัจจัยคํ้าจุน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ส่วนสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางลบกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (5) ปัจจัยที่สามารถทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพ คือ ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตำแหน่งในการปฏิบัติงาน และอายุ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 52.2 จากการวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการปรับปรุงบรรยากาศในการปฏิบัติงาน มีการกระจายอำนาจด้านการบริหารจัดการ ให้การ สนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากรและกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพพยาบาลให้ชัดเจน จะมีผลทำให้เกิด ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพยิ่งขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/436
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77211.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons