Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4374
Title: หลักความเสมอภาคกับกรณีสิทธิการฟ้องคดีของผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
Other Titles: The principle of equality and the rights of business operator to prosecute consumer under Consumer Trial Procedure Act BE.2551 (2008)
Authors: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรชัย อำนวย, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพิจารณาและตัดสินคดี
ความเสมอภาค
การคุ้มครองผู้บริโภค--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักความเสมอภาค ศึกษาหลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายวิธีพิจารณา คดีผู้บริโภค รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภคตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศึกษาความหมายของคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และตามกฎหมายต่างประเทศ และศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับความหมายของคดีผู้บริโภคกับหลักความ เสมอภาค เพื่อนามาสู่ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รวมทั้งบทบัญญัติของกฎหมาย พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 3 (1) ที่บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ประกอบธุรกิจให้สามารถฟ้องผู้บริโภคได้นั้น พบว่ายังมีปัญหาทางกฎหมายที่ทำให้บทบัญญัติดังกล่าวไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งคุ้มครองผู้บริโภค และไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาค เป็นการปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างกันในสาระสำคัญอย่างเดียวกัน ดังนั้น จึงเห็นควรแก้ไขนิยามความหมายของ คำว่า “คดีผู้บริโภค” ตามมาตรา 3 (1) โดยกำหนดให้เฉพาะแต่ผู้บริโภคเท่านั้นที่สามารถฟ้อง ผู้ประกอบธุรกิจเป็นคดีผู้บริโภคได้ และยกเลิกบทบัญญัติมาตรา 17 และเห็นควรกำหนดประเภทคดีผู้บริโภคให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงให้นำมูลค่าของจำนวนเงินมาใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาความหมายของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย ดังเช่นเดียวกันกับในประเทศออสเตรเลีย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4374
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons