กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4392
ชื่อเรื่อง: ผู้ไต่สวนอิสระในกระบวนพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Using to the rights of initiating a case by injured person in criminal case case study : the defamation by advertising
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฎ ลีดส์
ศิลา คำฟู, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลฎีกา
วิธีพิจารณาความอาญา
นักการเมือง--สถานภาพทางกฎหมาย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดหลักการของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและระบบตรวจสอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศึกษาการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ วิเคราะห์ถึงสาเหตุ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการที่ไม่มีกฎหมายว่าด้วยผู้ไต่สวนอิสระออกมาบังคับใช้ และหาแนวทางการออกกฎหมายว่าด้วยผู้ไต่สวนอิสระในส่วนการกำหนดคุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ วิธีการไต่สวน และการดำเนินการอื่นที่จำเป็นวิธีการดำเนินการวิจัยศึกษาจากเอกสาร โดยค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นปัญหาตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา จากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตำรากฎหมาย บทความ งานวิจัยและผลงาน ทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษต่างประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้อมูลและข่าวสารด้านการเมืองการปกครองของไทย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันเมื่อมีคำร้องขอต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อให้พิจารณาแต่งตั้ง ผู้ไต่สวนอิสระ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่อาจแต่งตั้งได้เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดคุณลักษณะอำนาจหน้าที่และวิธีการไต่สวนของผู้ไต่สวนอิสระ ดังนั้น จึงต้องออกกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับผู้ไต่สวนอิสระ ในเรื่องคุณสมบัติ จำนวนของผู้ไต่สวนอิสระ วาระในการดำรงตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ วิธีการไต่สวนและการดำเนินการอื่นที่จำเป็นของผู้ไต่สวนอิสระ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวควรปฏิบัติในรูปของพระราชบัญญัติผู้ไต่สวนอิสระ พ.ศ...... ส่วนรายละเอียดของกฎหมายในเรื่องคุณสมบัติจำนวนผู้ไต่สวนอิสระและวาระการดำรงตำแหน่งเห็นควรเทียบเคียงกับ 2 องค์กร คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการไต่สวน สำหรับอำนาจหน้าที่ของผู้ไต่สวนอิสระควรบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่คู่ขนานไปกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ส่วนวิธีการไต่สวนและการดำเนินการอื่นที่จำเป็นควรให้ศาลฎีกาออกข้อกำหนดโดยคำนึงถึงความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ไต่สวนอิสระ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4392
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons