กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4395
ชื่อเรื่อง: การประเมินระบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ของโรงเรียนสตรีวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An evaluation of the quality assurance system based on the Thailand Quality Awards (TQA) in Satri Wittahaya School under the Secondary Education Service Area Office 1 in Bangkok Metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
มิ่งขวัญ เชื้อมโนชาญ, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประกันคุณภาพการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ การศึกษาแห่งชาติ (TQA) ของโรงเรียนสตรีวิทยา โดยตรวจสอบระดับคุณภาพด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานและ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนากระบวนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาการวิจัยนี้กระทำกับโรงเรียนสตรีวิทยาในกรุงเทพมหานคร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ครูนักเรียน และผู้ปกครองระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 จำนวนรวมทั้งสิ้น 655 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่าจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่แบบสอบถามผู้บริหารและครู แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง โดยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79, 0.73,และ 0.78 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฎดังนี้ (1) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากแต่บุคลากรครูยังไม่เพียงพอต่อจำนวนรายวิชาที่เพึ่มขึ้น และครูรุ่นใหม่ยังไม่มีดวามชำนาญในการจัดการเรียนการสอน จึงควรพัฒนาครูรุ่นใหม่อย่างหลากหลายวิธีโดยเฉพาะใช้การชี้แนะจากครูรุ่นเก่าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญการสอน และจัดหาสื่อและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง(2) ด้านกระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) พบว่าในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก แต่ด้านการมุ่งเน้นการดำเนินการยังต้องการการพัฒนาเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้การบริหารจัดการคุณภาพอย่างแท้จริง และควรมีการรายงาน กำกับติดตามหลังการอบรมอย่างต่อเนื่อง (3) ด้านผลผลิต พบว่า ประสิทธิผลของโรงเรียนในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก แต่ผลลัพธ์ของผู้เรียนควรครอบคลุมด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์และควรประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งนำมาใช้ในการวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป และ (4) ด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารงานของโรงเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนของผู้ปกครองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4395
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_149969.pdf17.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons