กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4403
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการบริหารการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา ตามแนวทางคุณธรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The analysis study of the development guideline of development administration in terms of human resource according to the morality guideline of the Betong Municipality in Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชรินทร์ จันวัฒนะ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
ทรัพยากรมนุษย์--การบริหาร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งมีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ (1) การบริหารการพัฒนาด้าน ทรัพยากรมนุษย์ (2) ปัญหา (3) แนวทางการพัฒนา รวมทั้ง (4) การเปรียบเทียบภาพรวมและ ภาพรวมแนวโน้มของการบริหารการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมีองเบตง จังหวัด ยะลา ทั้งนี้ได้นำ ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการบริหารการพัฒนาตามแนวทางคุณธรรม 10 ด้าน ได้แก่ การรักษาความสัจ การรู้จักข่มใจตนเอง ความอดทน การละความชั่ว การเสียสละ ความเมตตา ความ สามัคคี ความสุจริต ความเที่ยงธรรม และการส่งเสริมคนดี มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิชัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แนวลึก เฉพาะผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามสำหรับการวิจัยสนามนั้นได้ผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่านการ ทดสอบความเที่ยงตรงและความเชี่อถือได้ที่ระดับ 0.91 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาคัยอยู่ใน พื้นที่ของเทศบาลเมีองเบตงจังหวัดยะลาจำนวน 1,064 คน ได้มีการแจกจ่ายแบบสอบออกไปและ เก็บรวบรวมกลับมาได้ 956 ชุด เท่ากับร้อยละ 89.94 ของแบบสอบถามที่แจกออกไปทั้งหมด (1,064) จากนั้น ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับสถิติที่นำมาใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยระดับปานกลาง ว่า ในภาพรวม การ บริหารการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา ตามแนวทางคุณธรรม ทั้ง 10 ด้าน อยู่ในระดับสูง (2) สำหรับปัญหาที่สำคัญ คือ พนักงานเทศบาลเมืองเบตงบางส่วน ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความไม่จริงใจ และเสแสร้ง (3) ในส่วนของข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ เทศบาลเมีองเบตงควรพัฒนาและฝึกอบรมพนักงานเทศบาลเมืองเบตง ทุกระดับเป็นประจำในเรึ่อง การมีจิตสำนึกที่ดี รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ควบคุมดูแลพนักงาน เทศบาลเพิ่มมากขึ้น สนับสนุนให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ คุณธรรม ตลอดจน สร้างระบบการตรวจสอบที่เข็มแข็งด้านคุณธรรม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4403
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105702.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons