Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิริพร ลิ้มทองเจริญ, 2507--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T02:39:40Z-
dc.date.available2023-03-16T02:39:40Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4409-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาในส่วนที่เกี่ยวกับการฝากขัง (2) ศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในเรื่องเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการขอฝากขังผู้ต้องหาประกอบแนวคิดทฤษฎีตามหลักรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนประกอบกับหลักกฎหมายของต่างประเทศ (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและหาวิธีการกำหนดรูปแบบการคุ้มครองสิทธิในเรื่องของการแก้ไขเยียวยาผู้ต้องหาที่ถูกกระทบสิทธิและเสรีภาพให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ เป็นการวิจัยทางกฎหมาย (Legal research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) จากรัฐธรรมนูญ ตัวบทกฎหมาย ตำรา บทความงานวิจัยและเอกสารทางวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์หามาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาในการฝากขังผู้ต้องหาให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จากการศึกษาพบว่า ในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังมีปัญหาเกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาในการฝากขังผู้ต้องหาควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 โดยความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่ถึง 10 ปี การขอฝากขังครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 2 วัน รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 36 วัน ส่วนความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 10 ปี การขอฝากขังครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 72 วัน โดยมีการเพิ่มงบประมาณ จำนวนบุคลากร รวมตลอดทั้งเทคโนโลยี ให้กับสํานักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา และศาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกตอน โดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ควรพิจารณาคําร้องขอฝากขังอย่างละเอียดรอบคอบและถี่ถ้วนโดยไม่ปล่อยให้ผู้ต้องหาต้องเป็นฝ่ายปกป้องสิทธิของตนเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม เนื่องจากผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวและไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวส่วนใหญ่จะเป็นคนจน ด้อยโอกาส ขาดความรู้ จึงยากที่จะปกป้องสิทธิของตนได้ ในเรื่องการแจ้งสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ผู้ต้องหา ต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ศาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องกระทำ เพื่อผู้ต้องหาจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนให้มากยิ่งขึ้น และการจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ต้องหาผู้บริสุทธิ์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 40(5) ยังมีข้อขัดข้องด้านงบประมาณทําให้ไม่อาจคํานึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ต้องหาได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ประชาชนยังไม่เข้าใจและยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมีการประกาศแจ้งสิทธิในเรื่องการจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่ประชาชนได้ทราบต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้ต้องหาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฝากขังth_TH
dc.title.alternativeRights of the accused regarding detention perioden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study has 3 objectives which are (1) to study a theories and rules in relation to the protection of individual rights and liberties of an accused regarding detention period, (2) to analyze the provisions of the Criminal Procedure Code regarding detention period with theories of Constitution and international law concerning the accused people’s rights, (3) to propose a remedy for the people whose rights were affected from this problem. The research methodology of this independent study was a qualitative research based on documentary research from Constitution, law and regulations, legal text books, articles, legal research and other relate document to analyze and propose proper measures in the part of the time detention period. The study found that the enforcement of the Criminal Procedure Code section 87 has a problem about the time of detention period which may affect the rights and liberties of the accused people. Therefore, some changes should have been made to this provision. The author proposed that, in the case where criminal offences punishable with imprisonment punishment less than ten years, the court should have the power to grant several successive detentions not exceeding twelve days each, but the total period shall not exceed thirty – six days. In the case where criminal offences punishable with imprisonment punishment the maximum of ten years upwards, the court should have the power to grant several successive detentions not exceeding twelve days each, but the total period shall not exceed seventy – two days. Moreover, Royal Thai Police should be given more budget, officers and technology to help protecting rights and liberties of the accused people. The practice of officers in the judicial process which related to the detention of an accused and the court should validate each legal process to ensure the safety and legal rights of the accused people. The court should considerer a motion to detention carefully before granting a detention period. A duty to protect the rights and liberties of the accused people should fall upon the officers in the judicial process not the accused people themselves. Moreover, the accused right to compensation as provided in the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 section 40(5) has a lot of problems about budget that may affect the accused people’s rights, and many people are still not aware of this right to compensationen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons