Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4409
Title: สิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฝากขัง
Other Titles: Rights of the accused regarding detention period
Authors: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร ลิ้มทองเจริญ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ต้องหา
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาในส่วนที่เกี่ยวกับการฝากขัง (2) ศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในเรื่องเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการขอฝากขังผู้ต้องหาประกอบแนวคิดทฤษฎีตามหลักรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชนประกอบกับหลักกฎหมายของต่างประเทศ (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและหาวิธีการกำหนดรูปแบบการคุ้มครองสิทธิในเรื่องของการแก้ไขเยียวยาผู้ต้องหาที่ถูกกระทบสิทธิและเสรีภาพให้เหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ เป็นการวิจัยทางกฎหมาย (Legal research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary research) จากรัฐธรรมนูญ ตัวบทกฎหมาย ตำรา บทความงานวิจัยและเอกสารทางวิชาการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอและวิเคราะห์หามาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาในการฝากขังผู้ต้องหาให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จากการศึกษาพบว่า ในการบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยังมีปัญหาเกี่ยวกับกําหนดระยะเวลาในการฝากขังผู้ต้องหาควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 โดยความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่ถึง 10 ปี การขอฝากขังครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 2 วัน รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 36 วัน ส่วนความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 10 ปี การขอฝากขังครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12 วัน รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 72 วัน โดยมีการเพิ่มงบประมาณ จำนวนบุคลากร รวมตลอดทั้งเทคโนโลยี ให้กับสํานักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา และศาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกตอน โดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ควรพิจารณาคําร้องขอฝากขังอย่างละเอียดรอบคอบและถี่ถ้วนโดยไม่ปล่อยให้ผู้ต้องหาต้องเป็นฝ่ายปกป้องสิทธิของตนเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม เนื่องจากผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวและไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวส่วนใหญ่จะเป็นคนจน ด้อยโอกาส ขาดความรู้ จึงยากที่จะปกป้องสิทธิของตนได้ ในเรื่องการแจ้งสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ผู้ต้องหา ต้องถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ศาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องกระทำ เพื่อผู้ต้องหาจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปกป้องสิทธิเสรีภาพของตนให้มากยิ่งขึ้น และการจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้ต้องหาผู้บริสุทธิ์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 40(5) ยังมีข้อขัดข้องด้านงบประมาณทําให้ไม่อาจคํานึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ต้องหาได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ประชาชนยังไม่เข้าใจและยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นรัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยมีการประกาศแจ้งสิทธิในเรื่องการจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่ประชาชนได้ทราบต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4409
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.39 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons