กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4428
ชื่อเรื่อง: | เจตนคติต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Attitudes toward the English language for joining ASEAN economic community (AEC) of people in Ratchathewi District, Bangkok Metropolis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง เกียรติพงษ์ มิลินทานุช, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาษาอังกฤษ--การใช้ภาษา ภาษาอังกฤษ--ตำราสำหรับชนต่างชาติ การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา กลุ่มประเทศอาเซียน--ภาษา--บทสนทนาและวลี |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของเจตคติของประชาชนต่อการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน 2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนจำแนกตามตัวแปรต้นได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และแขวงที่พำนัก และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาเจตคติต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน ประชากรคือประชาชนในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวน 73,280 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชาชนจำนวน 400 คนในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วย วิธีของทาโร่ ยามาเน่ และได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือ (1) แบบสอบถามข้อมูล ทั่วไป (2) แบบวัดเจตคติต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน และ (3) แบบสอบถาม ปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เจตคติโดยรวมต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนในเขตราชเทวีอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.32 (2) ผลการเปรียบเทียบเจตคติต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียนของประชาชนจำแนกตาม เพศ การศึกษา อาชีพและแขวงโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าประชาชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีเจตคติต่่อ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) แนวทางในการพัฒนาเจตคติต่อการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสู่ประชาคมอาเซียน สรุปได้ว่า (ก) ต้องการให้สถานที่ทำงานมีการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การใช้ภาษาอังกฤษทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (ข) ต้องการศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง (ค) ต้องการให้เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนและเพิ่มชั่วโมงการเรียนภาษาอังกฤษให้มากขึ้น (ง) ต้องการศึกษาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากโรงเรียนสอนภาษา (จ) ต้องการให้สื่อต่าง ๆ เน้นการใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น (ฉ) ต้องการให้มีการจัดอบรมภาษาอังกฤษในหน่วยราชการ และ (ช) ต้องการให้สถานศึกษามีบุคลากรต่างชาติสอน ภาษาอังกฤษโดยตรง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4428 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_140192.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License