กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/442
ชื่อเรื่อง: การนำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม : ISO 14001 มาใช้ในโรงงานผลิตยาที่ได้ GMP
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ สุธรรมาสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดา ดิลกพัฒนมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนิชา ใจสำราญ, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
การจัดการสิ่งแวดล้อม--ไทย
ไอเอสโอ 14001
โรงงานผลิตยา
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสอดคล้องของข้อกำหนด ISO 14001 และ GMP (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อดี ข้อเสีย ของการนำ ISO 14001 มาใช้ในโรงงานผลิตยาที่ได้ GMP และ (3) ศึกษาความสนใจที่ผู้บริหารโรงงานผลิตยาจะนำ ISO 14001 มาใช้ การศึกษาทำโดย ( 1 ) วิเคราะห์เนื้อหาของข้อกำหนด ISO 14001 และ GMP เพื่อเปรียบเทียบ ความสอดคล้องของข้อกำหนดทั้ง 2 ระบบ (2) สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งได้แก่ผู้บริหารระบบ 11 คนและ ผู้ปฏิบัติ 17 คน ของโรงงานผลิตยา 4 แห่งที่ได้นำ ISO 14001 ไปใช้แล้ว เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อดี ข้อเสียของการนำ ISO 14001 ไปใช้จริงในโรงงาน และ (3) ส่งแบบสอบถามจำนวน 122 ฉบับ เพื่อสำรวจความสนใจของผู้บริหารโรงงานผลิตยาที่จะนำ ISO 14001 ไปใช้ ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 56 ฉบับ หรือร้อยละ 46.7 ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อกำหนดของทั้งสองระบบมีความสอดคล้องในด้านเนื้อหาที่ตรงกันหลายส่วน ข้อกำหนดซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ ทั้ง 4 โรงงานระบุว่าสามารถรวมการจัดการทั้ง GMP และ ISO 14001 เข้าด้วยกันได้คือระบบการควบคุมเอกสารและระบบการฟิกอบรม (2) ผู้บริหารระบบและผู้ ปฏิบัติ มีความเห็นตรงกันว่าปัญหา และอุปสรรคของการนำ ISO 14001 มาใช้ อันดับแรกคือบุคลากร ถัดมาคือเรื่องงบประมาณ ส่วนข้อดี ของการนำ ISO 14001 มาใช้ พบว่าระบบช่วยเพิ่มการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย และมีส่วนพัฒนา GMP ให้มีระบบการชัดการที่สมบูรณ์มากขึ้น ข้อเสียคือการเพิ่มงานและเพิ่มการลงทุน และ (3) ผลการสอบถามความสนใจที่ผู้บริหารโรงงานผลิตยาจะนำ ISO 14001 มาใช้นั้นพบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.71 ระบุว่ายังไม่สนใจที่จะนำ ISO 14001 มาใช้เนื่องจากขาดบุคลากรและสิ้นเปลืองงบประมาณในการลงทุน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/442
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77213.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons