กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4438
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for development of the student help-care system of Thedsaban 1 Ban Sadao School under Sadao Town Municipality in Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เข็มทอง ศิริแสงเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีระศักดิ์ ฐานมั่น, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความช่วยเหลือทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา (2) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดากลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ครู 58 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 4 คน และ ผู้ปกครองนักเรียน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 1 ฉบับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้ปกครอง รวม 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ครูมีความเห็นว่าสภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีสี่ด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการปัองกันและแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ยมากกว่าด้านอื่น และด้านการส่งต่อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับผู้บริหารสถานศึกษา ที่ระบุว่าโรงเรียนได้จัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีนโยบายให้จัดกิจกรรม และการส่งเสริมเพื่อพัฒนานักเรียนที่ดำเนินการตั้งแต่ระดับครูที่ปรึกษา และมีงานฝ่ายแนะแนวในระบบงานบริหารทั่วไปของโรงเรียน ที่ดำเนินการคัดกรองนักเรียน กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหาตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด ส่วนผู้ปกครองระบุว่าโรงเรียน และครูที่ปรึกษามีความเอาใจใส่นักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อนักเรียนมีปัญหาครูประจำชั้นจะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ (2) ครูระบุว่าปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ โรงเรียนยังขาดการจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนเพื่อดำเนินการส่งต่อ และการจัดเก็บข้อมูลยังไม่เป็นปัจจุบันจึงส่งผลให้การคัดกรองนักเรียนมีความล่าช้า โรงเรียนขาดการส่งต่อนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษต่อหน่วยงานภายนอกหรีอผู้เชี่ยวชาญ สอดคล้องกับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ปกครองที่ระบุว่าโรงเรียนยังขาดการส่งต่อนักเรียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญ และ (3) แนวทางการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งสามกลุ่มเสนอแนวทางที่สอดคล้องกันว่าโรงเรียนควรจัดทำนโยบายและแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และห่างไกลจากปัญหาในด้านต่างๆ ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ให้สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการของนักเรียน โดยผู้ปกครองเน้นว่ากิจกรรมที่จัดให้แก่นักเรียนควรเป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4438
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_152115.pdf7.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons