Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4439
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมคิด ประคองญาติ, 2508--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T03:39:55Z-
dc.date.available2023-03-16T03:39:55Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4439-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในประเด็นการรับสารภาพของผู้กระทำผิดวินัยซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่าเห็นสมควรที่จะนำมาเป็นเหตุหนึ่งที่จะบรรเทาโทษทางวินัยได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับคำพิพากษาศาลยุติธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ประมวลกฎหมายอาญา กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 หนังสือตำรา เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ถูกดำเนินการทางวินัยให้การรับสารภาพว่าตนเองได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา ไม่ว่าจะรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชา หรือต่อคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการสืบสวนหรือสอบสวนวินัยก็ตาม ถือเป็นความผิดปรากฏชัดแจง ตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะไม่สอบสวนหรืองดการสอบสวนวินัย แล้วสั่งลงโทษทางวินัยเลยก็ได้ ซึ่งหลักการดังกล่าวถือเป็นการไม่สอดคล้องกับหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ที่ผู้กระทำความผิดให้การรับสารภาพแล้วสามารถนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเป็นการใช้ดุลยพินิจหลากหลาย อันไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับกฎหมายอาญา จึงเห็นสมควรแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันได้แก่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บางมาตรา และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectครู--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.titleการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพth_TH
dc.title.alternativeThe disciplinary action teachers and educational in case the accuse plead guiltyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this independent research study is to evolulate the discretion of civil servants employed as Teacher and Educational Personnel which is charged by The Educational Teacher Civil Service and Education personnel Act B.E. 2547 (2004). The faculty personnel who have plead guilty will comply with the government regulations which is considered unjust comparing with the confession of wrong doing. Those defendant who plead guilties may receive leniency from the Court of justices in similar cases. This independent research is a qualitative research. This is included the existent records of particular cases which resulted from the procedural implementation of the Teacher Civil Service and Educational Personnel Act, B.E. 2547 (2004). Moreover, the reverent interpretive Criminal Code which is defined in legal code of conduct, 2549 B.E. (2006 A.D.) and other related documents will also be studied. The research found that the administrative penalties to educational faculty and staff, according to the procedure established in the Teacher Civil Service and Educational Personnel Act, B.E. 2547 (2004), that the educators and staff personnel were prosecuted unfairly even they plead guity. The administrative penalties in this manner is not in accordance with the general norm of criminal code, which would allow a person who overlooks committed wrong doing for consideration of leniency in his case. This legal overlooks encoded has resulted in much injustice because lack of necessary latitude in discretion. Therefore, the related regulations and legal codes should be amended. This research also found that that the B.E. 2547 (2004) educational legislation contains numerous apparent inherent weaknesses which should be corrected. The Educational Teacher Civil Service and Educational Personal Act B.E. 2547 (2004) relating for legal code of conduct should also be corrected in order to receive appropriate and fair penalties for those who are charged with this Acten_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.53 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons