กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4439
ชื่อเรื่อง: การดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The disciplinary action teachers and educational in case the accuse plead guilty
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมคิด ประคองญาติ, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ครู--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บุคลากรทางการศึกษา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง การดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในประเด็นการรับสารภาพของผู้กระทำผิดวินัยซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่าเห็นสมควรที่จะนำมาเป็นเหตุหนึ่งที่จะบรรเทาโทษทางวินัยได้หรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับคำพิพากษาศาลยุติธรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ประมวลกฎหมายอาญา กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 หนังสือตำรา เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 เมื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ถูกดำเนินการทางวินัยให้การรับสารภาพว่าตนเองได้กระทำผิดตามที่กล่าวหา ไม่ว่าจะรับสารภาพต่อผู้บังคับบัญชา หรือต่อคณะกรรมการที่มีหน้าที่ในการสืบสวนหรือสอบสวนวินัยก็ตาม ถือเป็นความผิดปรากฏชัดแจง ตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะไม่สอบสวนหรืองดการสอบสวนวินัย แล้วสั่งลงโทษทางวินัยเลยก็ได้ ซึ่งหลักการดังกล่าวถือเป็นการไม่สอดคล้องกับหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ที่ผู้กระทำความผิดให้การรับสารภาพแล้วสามารถนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ จึงทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเป็นการใช้ดุลยพินิจหลากหลาย อันไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกับกฎหมายอาญา จึงเห็นสมควรแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอันได้แก่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บางมาตรา และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยความผิดปรากฏชัดแจ้ง พ.ศ. 2549 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4439
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons