กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/443
ชื่อเรื่อง: รูปแบบและวิธีการซื้อเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศึกษากรณีเทศบาลตำบลพบพระ จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Vote buying forms and methods of candidates of house of representative : a case study of Phop Phra Municipality, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน
สุรเดช ครองแก้ว, 2492- 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การเลือกตั้ง -- การทุจริต -- ไทย -- ตาก
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษรูปแบบและวิธีการซื้อเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในเขตเทศบาล ตำบลพบพระ จังหวัดตาก (2) ศึกษาผลของการซื้อเสียงของผู้สมัครรับลือกตั้งที่มีต่อการเมืองในเขตเทศบาล ตำบลพบพระ จังหวัดตาก (3) เสนอแนะแนวทาง แก้ไขปัญหาการซื้อเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิชัยเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัยและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน ได้แก่ กลุ่มประธานชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลพบพระ จังหวัดตากจำนวน 6 คนกสุ่มประธานชมรมต่างๆได้แก่ ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่มสตรี ประธานผู้นำสตรีการเมือยุคใหม่ และ ประธานชมรมหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน 5 คน กลุ่มข้าราชการ ได้แก่ นายอำเภอพบพระ ปลัดอำเภอพบพระ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านพบพระ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตาก จำนวน 4 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการจัยพบว่า (1) ในเขตเทศบาลตำบลพบพระ จังหวัดตาก รูปแบบและวิธีการซื้อเสียงเลือกตั้งมักกระทำในสองลักษณะในขณะเดียวกันคือรูปแบบทางตรง ได้แก่ การแจกเงินและสิ่งของผ่าน หัวคะแนน แลรูปแบบทางอ้อม ได้แก่ การบริจาคเงินผ่านองค์กรต่างๆ เช่น โรงเรียน วัด โดยคำนึงถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น (2) ผลของการซื้อเสียงเลือกตั้งที่มีต่อการเมืองในเขตเทศบาลตำบลพบพระ จังหวัดตาก พบว่า ผลที่เกิดจากการใข้เงินซื้อเสียงมิได้เป็นการสร้างรายได้ให้กับ ท้องถิ่น การสร้างค่านิยมในเรืองการซื้อเสียงเป็นบ่อเกิดความเห็นแก่ได้ของคน และการเห็นเงินสำคัญกว่าระบอบประชาธิปไตย ส่วนผลที่ก่อให้เกิดความแตกแยกทางสังคมพบว่า มีการแบ่งฝ่ายทางการเมืองมีการทะเลาะกันระหว่างเครือญาติในทางการเมืองในเขตเทศบาลตำบลพบพระ จังหวัดตาก และมีการ โจมตีคู่แข่งทางการเมือง (3) การแก้ไขปัญหาการซื้อเสียงเลือกตั้งควรมีการปรับปรุงกฎหมายโดยเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดให้หนักขึ้น เพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิยุติธรรม รณรงค์ให้ประชาชนรู้ถึงผลเสียของการซื้อเสียงเพื่อสร้างมิติใหม่ทางการเมือง และปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน รู้จักใช้อำนาจของตนเองตามระบอบประชาธิปไตย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/443
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
107679.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons