Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4441
Title: ปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ : ศึกษาเฉพาะกรณีกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
Other Titles: Problems and improvements toward the district government act: a case study of the sub-district and village headmen
Authors: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมทรง นิลยอง, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้ มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 (2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายเกี่ยวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ (3) เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันให้มีความเหมาะสมและทันสมัย การศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสารตัวบทกฎหมายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และตำราวิชาการต่าง ๆ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วนามารวบรวมวิเคราะห์และสรุปเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดคุณสมบัติของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไว้ว่า ต้องมีพื้นความรู้ไม่ต่ำกว่าการศึกษาภาคบังคับหรือเทียบเท่านั้นน้อยเกินไปไม่สอดคล้องกับบทบาทอำนาจหน้าที่ และในส่วนของวาระการดำรงตำแหน่งที่ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แทนการดำรงตำแหน่งเป็นวาระไม่สอดคล้องต่อหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับการเลือกกำนัน โดยให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกันเองแทนการเลือกโดยประชาชน ทำให้กำนันขาดความเชื่อมโยงโดยตรงกับประชาชนและทำให้ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนในระดับตำบล ทั้งการกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ดำรงตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านไว้ที่ 25 ปีบริบูรณ์ ก็ไม่เหมาะสมกับบทบาทอำนาจหน้าที่ที่มีหลากหลายทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามแบบพิธีการทางสังคม ประการสุดท้าย การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านว่าต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้นไม่น้อยกว่า 3 เดือนจนถึงวันเลือกสั้นเกินไป ไม่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการเลือกตั้งในระดับหมู่บ้านให้บริสุทธิ์ ยุติธรรม และได้ตัวแทนที่ดีมีความรู้ความสามารถ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4441
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons