Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4447
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราพร สุทันกิตระ | th_TH |
dc.contributor.author | สมพร เดชกมล, 2528- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-03-16T04:00:44Z | - |
dc.date.available | 2023-03-16T04:00:44Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4447 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิดและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ และสภาพปัญหาการดำเนินการ ทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำความผิดวินัยร่วมกัน ตลอดจนวิเคราะห์เปรียบเทียบอำนาจในการสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำผิดวินัยร่วมกันและเสนอแนวทางการแก้ไข การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางนิติศาสตร์ อันได้แก่ หนังสือหรือตำราทางวิชาการ บทบัญญัติกฎหมายแห่งรัฐ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ แหล่งข้อมูลจากห้องสมุดและทางอินเทอร์เน็ต ตลอดทั้งเอกสารการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยใช้วิธีอ่าน ทำความเข้าใจ คัดย่อ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา เพื่อค้นหาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 94 (4) ประกอบกับข้อ 16 (1) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 ให้อำนาจปลัดกระทรวงดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่อธิบดีมีอำนาจสั่งบรรจุได้ แต่ไม่ได้ให้อำนาจปลัดกระทรวงในการทำคำสั่งลงโทษไว้ อธิบดีจึงต้องทำคำสั่งลงโทษแทน สร้างขั้นตอนเกินความจำเป็น ทำให้กระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ส่งผลให้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษและการส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาเกิดขึ้นไม่พร้อมกันขัดต่อหลักความเสมอภาค ตลอดทั้งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผลการพิจารณาอาจมีความแตกต่างกันไปตามอำนาจดุลพินิจ ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายให้ปลัดกระทรวงในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุที่มีตำแหน่งเหนือกว่าอธิบดีมีอำนาจในการทำคำสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกันในกรมเดียวกันที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันได้ในคราวเดียวกันจะทำให้กระบวนการดำเนินการทางวินัยเดียวกันเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เสมอภาคและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ข้าราชการพลเรือน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | ข้าราชการพลเรือน--วินัย | th_TH |
dc.subject | การลงโทษ | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน | th_TH |
dc.title | อำนาจในการสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำผิดวินัยร่วมกัน | th_TH |
dc.title.alternative | Power to order punishment of civil servants being alleged to have jointly committed a disciplinary breach | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This independent study aims to 1) study principles, concepts and laws on disciplinary actions against civil servants and problems related to disciplinary actions against civil servants conspiring in a disciplinary breach; 2) comparatively analyze the power to order punishment of civil servants being alleged to have jointly committed a disciplinary breach; and 3) recommend solutions. This independent study is qualitative research based on documentary research, in which legal documents, books, academic textbooks provisions of state laws, dissertations, articles, sources from library and the internet, documents on disciplinary actions against civil servants of the Department of Highways and the Department of Rural Roads under the Ministry of Transport were studied. The acquired data were then analyzed to find solutions and recommendations. Study results show that Section 94 (4) of the Civil Service Act B.E. 2551 and Clause 16 (1) of the Civil Service Regulations on Disciplinary Action, B.E. 2556 empowered the permanent secretary to punish civil servants appointed by the director-general. However, the permanent secretary is not empowered to issue the order. Thus, the director-general has to do it adding an unnecessary step to the procedure, slowing down the process, and affecting the right to appeal to the Merit System Protection Commission (MSPC) and to report to the Ministerial Civil Service Sub-Commission (Ministry CSSC) to consider the difference. This is in conflict with principles of equality and good governance. Laws should, therefore, be amended so that the permanent secretary is the commander with power to appoint and punish civil servants in different positions in the same departments who are alleged of conspiring in a disciplinary breach. This way, disciplinary actions can be done faster for equality and justice. | en_US |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License