กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4447
ชื่อเรื่อง: อำนาจในการสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำผิดวินัยร่วมกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The power to order punishment of civil servants being alleged to have jointly committed a disciplinary breach
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราพร สุทันกิตระ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมพร เดชกมล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการพลเรือน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ข้าราชการพลเรือน--วินัย
การลงโทษ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการ แนวคิดและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญ และสภาพปัญหาการดำเนินการ ทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำความผิดวินัยร่วมกัน ตลอดจนวิเคราะห์เปรียบเทียบอำนาจในการสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญที่กระทำผิดวินัยร่วมกันและเสนอแนวทางการแก้ไข การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางนิติศาสตร์ อันได้แก่ หนังสือหรือตำราทางวิชาการ บทบัญญัติกฎหมายแห่งรัฐ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ แหล่งข้อมูลจากห้องสมุดและทางอินเทอร์เน็ต ตลอดทั้งเอกสารการดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือนสามัญของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยใช้วิธีอ่าน ทำความเข้าใจ คัดย่อ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา เพื่อค้นหาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 94 (4) ประกอบกับข้อ 16 (1) ของกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 ให้อำนาจปลัดกระทรวงดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการที่อธิบดีมีอำนาจสั่งบรรจุได้ แต่ไม่ได้ให้อำนาจปลัดกระทรวงในการทำคำสั่งลงโทษไว้ อธิบดีจึงต้องทำคำสั่งลงโทษแทน สร้างขั้นตอนเกินความจำเป็น ทำให้กระบวนการดำเนินการทางวินัยไม่เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ส่งผลให้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษและการส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณาเกิดขึ้นไม่พร้อมกันขัดต่อหลักความเสมอภาค ตลอดทั้งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผลการพิจารณาอาจมีความแตกต่างกันไปตามอำนาจดุลพินิจ ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายให้ปลัดกระทรวงในฐานะผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุที่มีตำแหน่งเหนือกว่าอธิบดีมีอำนาจในการทำคำสั่งลงโทษข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งต่างกันในกรมเดียวกันที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกันได้ในคราวเดียวกันจะทำให้กระบวนการดำเนินการทางวินัยเดียวกันเป็นไปด้วยความรวดเร็ว เสมอภาคและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4447
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons