กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4463
ชื่อเรื่อง: การกำหนดให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทในสัญญาทางปกครอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Constitution of the Arbitration Tribunals for the settlement dispute concerning administrative contract
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรัลลัคน์ อินพรหม, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อนุญาโตตุลาการ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการกาหนดให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทในสัญญาทางปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี ของสัญญาทางปกครองและอนุญาโตตุลาการ (2) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองของไทย (3) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทในสัญญาทางปกครองของต่างประเทศ (4) เพื่อศึกษาแนวทางในการแก้ปัญหาการกำหนดให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดในสัญญาทางปกครองของไทย การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาวิจัย เห็นว่าไม่จำต้องต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 แต่อย่างใด แต่ควรบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้นโดยบัญญัติแยกออกมาเป็นหมวด “ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการในสัญญาทางปกครอง” ให้มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำสัญญา การแก้ไขปัญหาการบริหารสัญญา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ ในการร่างสัญญาของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้จัดทำสัญญา ต้องให้คณะเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคการเขียนสัญญา และต้องมีความรู้ ความสามารถในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของสัญญา และต้องให้เจ้าหน้าที่ดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับกิจการบริการและสาธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ในสาขาที่ได้มีการทาสัญญาตรวจสอบการปฏิบัติข้อสัญญาดังกล่าวด้วยเพื่อให้การปฏิบัติตามสัญญามีความต่อเนื่องและถูกต้องตามสัญญา” สาระสำคัญในการแก้ไขปัญหาคุณสมบัติของคณะอนุญาโตตุลาการคือ “อนุญาโตตุลาการคนหนึ่งควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในกฎหมายมหาชนเป็นอย่างดี กล่าวคือ มีประสบการณ์ในสายกฎหมายมหาชนพอสมควร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4463
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons