Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4468
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสมโภชน์ เครือพานิช, 2499--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T06:10:25Z-
dc.date.available2023-03-16T06:10:25Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4468-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางคดีของทนายความแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและความจำเป็นให้ทนายความทำหน้าที่ช่วยเหลือทางคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา บทบาทของทนายความ ขอบเขตในการให้คำปรึกษาแนะนำทางคดีและเข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการทำหน้าที่ดังกล่าวของทนายความ และข้อเสนอแนะเป็นแนวทางแก้ไขเพื่อให้ทนายความสามารถช่วยเหลือคุ้มครองผู้ต้องหา ให้ได้รับความยุติธรรมในทุกขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวน วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิจัยเอกสาร ค้นคว้าหาเหตุผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากตำรากฎหมายต่าง ๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติทนายความ วารสารกฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาฎีกาข้อมูลสาร สนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาในคดีอาญาของทนายความ เพื่อวิเคราะห์และให้ทราบถึงบทบาทของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาจากการศึกษาวิจัยพบว่า ทนายความไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาให้ได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนได้อย่างสมบูรณ์ และจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าสมควรต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจผู้จับ หรือตำรวจผู้รับตัวผู้ถูกจับ ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวน ต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาเพิ่มอีกว่า หากผู้ต้องหาไม่สามารถจัดหาทนายความเองได้ก็มีสิทธิร้องขอให้รัฐจัดหาทนายความให้ เพื่อให้สอดคล้องกับการให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาของประเทศสหรัฐอเมริกา และต้องให้สภาทนายความร้องขอกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอทำการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงร่วมกัน เรื่องแนวทางปฏิบัติกรณีผู้ต้องหาใช้สิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำของตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกำหนดให้ทนายความที่ปรึกษามีสิทธิโต้แย้งคำถามที่ไม่เป็นธรรม หรือการใช้คำถามนำแก่ผู้ต้องหา อีกทั้งต้องให้พนักงานสอบสวนรับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ และสอบปากคำพยานบุคคลที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างติดสำนวนการสอบสวนไว้ด้วย เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการพิจารณาว่าคดีมีมูลพอจะสั่งฟ้องได้หรือไม่ เพื่อให้ผู้ต้องหาได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความช่วยเหลือทางกฎหมายth_TH
dc.subjectผู้ต้องหา--คดีอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการให้ความช่วยเหลือทางคดีของทนายความแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาth_TH
dc.title.alternativeAttorneys assistance for the accused in criminal casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent research on attorneys’ assistance for the accused in criminal cases aims to study concepts and roles of attorneys to help in criminal cases and protect rights of the accused, the scope of their consultation in cases and attendance in investigation and questioning sessions of investigators; to identify obstacles to attorneys’ duty performance; and to suggest solutions to attorneys protecting the accused so they receive justice in all steps of prosecution at the investigation level. In this independent study, which is a qualitative research, documents and legal textbooks were studied and analyzed namely the Constitution of the Kingdom of Thailand, the Code of Criminal Procedure, the Lawyer Act, the Supreme Court’s Judgment, journals, thesis and other electronic resources. The acquired data were analyzed in order to identify roles of attorneys when helping in cases and protecting the accused in criminal cases at the investigation level according to Thai laws compared with the United State laws. It was found that attorneys were not able to completely help give advices in cases and protect rights of the accused. To solve this problem, Criminal Procedure Laws have to be amended by allowing the police officers to declare the rights of the accused, namely, if the accused cannot afford their own attorney, they have the right to ask for the attorney and the state must provide for them. This would be consistent to legal practices in this regard in the United State of America. Moreover, the Lawyers’ Council of Thailand should cooperate with the Royal Thai Police to adjust the laws in term of the accused’s right to ask for the attorney guideline. Regarding interrogation, the accused should have their attorney with them to oppose to unfair questions or leading questions to the accused. An inquiry official must accept evidence or witnesses and interrogate witnesses mentioned by the accused so the inquiry official and public prosecutors have enough information to decide whether to order prosecution and the accused are treated fairly in criminal procedureen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons