กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4468
ชื่อเรื่อง: การให้ความช่วยเหลือทางคดีของทนายความแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attorneys assistance for the accused in criminal cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ
สมโภชน์ เครือพานิช, 2499-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความช่วยเหลือทางกฎหมาย
ผู้ต้องหา--คดีอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางคดีของทนายความแก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและความจำเป็นให้ทนายความทำหน้าที่ช่วยเหลือทางคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหา บทบาทของทนายความ ขอบเขตในการให้คำปรึกษาแนะนำทางคดีและเข้าฟังการสอบปากคำผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการทำหน้าที่ดังกล่าวของทนายความ และข้อเสนอแนะเป็นแนวทางแก้ไขเพื่อให้ทนายความสามารถช่วยเหลือคุ้มครองผู้ต้องหา ให้ได้รับความยุติธรรมในทุกขั้นตอนของการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวน วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิจัยเอกสาร ค้นคว้าหาเหตุผลและวิเคราะห์ข้อมูลจากตำรากฎหมายต่าง ๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระราชบัญญัติทนายความ วารสารกฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาฎีกาข้อมูลสาร สนเทศจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาในคดีอาญาของทนายความ เพื่อวิเคราะห์และให้ทราบถึงบทบาทของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาในการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนตามกฎหมายไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาจากการศึกษาวิจัยพบว่า ทนายความไม่สามารถทำหน้าที่ช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาให้ได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนได้อย่างสมบูรณ์ และจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่าสมควรต้องแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจผู้จับ หรือตำรวจผู้รับตัวผู้ถูกจับ ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวน ต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาเพิ่มอีกว่า หากผู้ต้องหาไม่สามารถจัดหาทนายความเองได้ก็มีสิทธิร้องขอให้รัฐจัดหาทนายความให้ เพื่อให้สอดคล้องกับการให้ความช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาของประเทศสหรัฐอเมริกา และต้องให้สภาทนายความร้องขอกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอทำการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงร่วมกัน เรื่องแนวทางปฏิบัติกรณีผู้ต้องหาใช้สิทธิให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำของตนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกำหนดให้ทนายความที่ปรึกษามีสิทธิโต้แย้งคำถามที่ไม่เป็นธรรม หรือการใช้คำถามนำแก่ผู้ต้องหา อีกทั้งต้องให้พนักงานสอบสวนรับพยานเอกสารหรือพยานวัตถุ และสอบปากคำพยานบุคคลที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างติดสำนวนการสอบสวนไว้ด้วย เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการพิจารณาว่าคดีมีมูลพอจะสั่งฟ้องได้หรือไม่ เพื่อให้ผู้ต้องหาได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดีอาญาชั้นสอบสวนอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4468
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons