Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4480
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิติพงศ์ หังสพฤกษ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล, 2516--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T06:37:38Z-
dc.date.available2023-03-16T06:37:38Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4480-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง (2) ศึกษาสภาพปัญหาและประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น (4) นำผลการวิเคราะห์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร จากหนังสือ ตำรา บทความ ซึ่งค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังด้านการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่นโดยนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขัง ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นการพัฒนาจิตใจและฝึกให้ผู้ต้องขังมีระเบียบวินัยรักการทำงาน ประเทศสหรัฐอเมริการัฐบาลจะเป็นผู้ประสานงานเพื่อจัดสรรงานให้กับเรือนจำ โดยหน่วยงานที่มีชื่อว่าอุตสาหกรรมสหพันธ์ผู้ต้องขัง ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีหน่วยงานที่มีชื่อว่า สหพันธ์ราชทัณฑ์ญี่ปุ่นทำหน้าที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากฝีมือผู้ต้องขัง สำหรับประเทศไทยไม่มีหน่วยงานเฉพาะในด้านนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตต้องจำหน่ายที่เรือนจำหรือในงานต่าง ๆ ส่วนค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง ทุกประเทศจัดให้มีเหมือนกันแต่แตกต่างกันกล่าวคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ต้องขังจะได้รับค่าจ้างเหมือนแรงงานภายนอกและต้องเสียภาษีเต็มจำนวนส่วนในประเทศญี่ปุ่นผู้ต้องขังจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่มีจำนวนน้อยและเสียภาษีไม่มากเนื่องจากค่าแรงต่ำ สำหรับประเทศไทยผู้ต้องขังจะได้รับค่าตอบแทนการทำงานไม่เกินร้อยละห้าสิบจากกำไรและไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า การฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขัง ควรแก้ไขปรับปรุงดังนี้ (1) นำมาตรการเลี่ยงโทษจาคุกมาใช้ให้มากขึ้น เพื่อเก็บพื้นที่เรือนจำไว้ควบคุมผู้ต้องขังที่อัตราโทษสูงเท่านั้น (2) กรมราชทัณฑ์ควรเป็นผู้จัดหาผู้ว่าจ้างแรงงานผู้ต้องขังเองเพื่อให้ได้ผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่จ่ายค่าตอบแทนที่มากกว่า (3) การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ควรมีหน่วยงานพิเศษในการกระจายผลผลิตให้ทั่วถึงเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน (4) ควรมีการตรวจสอบการใช้อำนาจของ เจ้าพนักงาน เพื่อให้มีความโปร่งใสและป้องกันการละเมิดสิทธิผู้ต้องขัง (5) ควรแก้ไขกฎหมายให้ผู้ต้องขังสามารถเลือกงานที่ต้องทำได้ เพราะผู้ต้องขังแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่ต่างกัน สำหรับค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังควรแก้ไขปรับปรุงดังนี้ (1) กำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำไว้เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องขัง (2) กำหนดความผิดทางวินัยซึ่งมีผลต่อการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง (3) การยื่นคำร้องทุกข์ต้องไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎข้อบังคับ วัตถุประสงค์ และเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่เกี่ยวกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงาน รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ ของผู้ต้องขังth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectแรงงานนักโทษ--การฝึกอบรมในงานth_TH
dc.subjectแรงงานนักโทษ--ค่าจ้างth_TH
dc.subjectการฝึกอาชีพth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังth_TH
dc.title.alternativeVocational training and remuneration for prisoneren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study regarding vocational training and compensation of detainee are (1) to study concept, theory and evolution of training and compensation of detainee’s work, (2) to study issue condition and law related with training and compensation of detainee of Thailand, USA and Japan, (3) to analysis law related with training and compensation of detainee of Thailand when compared with USA and Japan’s law and (4) to ascertain the method of revision law related with training and compensation of detainee. This independent study is a qualification research conducted based on the Documentary research through book, text, article, data from laws related with detainee regarding training and compensation of detainee of USA, Japan. It is comparing with Thailand in order to guideline of revision and further improvement. From study found that training vocational of detainee all countries were pay attention due to development mind and had discipline in work. The government of USA was a coordinator in order to allocate job to prison for agency name federal industries of detainee. In term of Japan had agency name Japanese Federal Department of Corrections, this agency had duty to support and promotion product made by detainee. For Thailand had no specific agency in this part and product must distribution in prison or any fairs. Compensation of detainee work all countries were same format. In USA, detainee would gain wage rates as well as outside the prison and must pay full tax. In Japan, detainee would compensation from less work and pay les tax, due to lower income. For Thailand, detainee will gain compensation for work not over than 50% from profit and non-payment tax. The study suggested that training vocational of detainee (1) developed process prison evade (2) Department of Corrections was provided employer for detainee in order to more compensation (3) for distribution should had special agency in order to distribute product and flexible in work (4) should be review the officer (5) should be revision law in term of right to select kind of work. Compensation of detainee should be modified as follows: (1) ddetermining the minimum rate in order to be fair to the detainee (2) revision law to defined discipline offense and effected to compensation of detainee (3) revision law in case of request regardless Department of Corrections officer as related in order to supervisionen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons