Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4480
Title: | การฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง |
Other Titles: | Vocational training and remuneration for prisoner |
Authors: | กิติพงศ์ หังสพฤกษ์ สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี แรงงานนักโทษ--การฝึกอบรมในงาน แรงงานนักโทษ--ค่าจ้าง การฝึกอาชีพ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง (2) ศึกษาสภาพปัญหาและประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังของประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น (3) วิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น (4) นำผลการวิเคราะห์มาสังเคราะห์เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร จากหนังสือ ตำรา บทความ ซึ่งค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังด้านการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่นโดยนำมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมและปรับปรุงกฎหมายต่อไป ผลการศึกษาพบว่า การฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขัง ทุกประเทศต่างให้ความสำคัญเนื่องจากเป็นการพัฒนาจิตใจและฝึกให้ผู้ต้องขังมีระเบียบวินัยรักการทำงาน ประเทศสหรัฐอเมริการัฐบาลจะเป็นผู้ประสานงานเพื่อจัดสรรงานให้กับเรือนจำ โดยหน่วยงานที่มีชื่อว่าอุตสาหกรรมสหพันธ์ผู้ต้องขัง ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีหน่วยงานที่มีชื่อว่า สหพันธ์ราชทัณฑ์ญี่ปุ่นทำหน้าที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากฝีมือผู้ต้องขัง สำหรับประเทศไทยไม่มีหน่วยงานเฉพาะในด้านนี้ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตต้องจำหน่ายที่เรือนจำหรือในงานต่าง ๆ ส่วนค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง ทุกประเทศจัดให้มีเหมือนกันแต่แตกต่างกันกล่าวคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ต้องขังจะได้รับค่าจ้างเหมือนแรงงานภายนอกและต้องเสียภาษีเต็มจำนวนส่วนในประเทศญี่ปุ่นผู้ต้องขังจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่มีจำนวนน้อยและเสียภาษีไม่มากเนื่องจากค่าแรงต่ำ สำหรับประเทศไทยผู้ต้องขังจะได้รับค่าตอบแทนการทำงานไม่เกินร้อยละห้าสิบจากกำไรและไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่า การฝึกวิชาชีพของผู้ต้องขัง ควรแก้ไขปรับปรุงดังนี้ (1) นำมาตรการเลี่ยงโทษจาคุกมาใช้ให้มากขึ้น เพื่อเก็บพื้นที่เรือนจำไว้ควบคุมผู้ต้องขังที่อัตราโทษสูงเท่านั้น (2) กรมราชทัณฑ์ควรเป็นผู้จัดหาผู้ว่าจ้างแรงงานผู้ต้องขังเองเพื่อให้ได้ผู้ว่าจ้างรายใหญ่ที่จ่ายค่าตอบแทนที่มากกว่า (3) การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ควรมีหน่วยงานพิเศษในการกระจายผลผลิตให้ทั่วถึงเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน (4) ควรมีการตรวจสอบการใช้อำนาจของ เจ้าพนักงาน เพื่อให้มีความโปร่งใสและป้องกันการละเมิดสิทธิผู้ต้องขัง (5) ควรแก้ไขกฎหมายให้ผู้ต้องขังสามารถเลือกงานที่ต้องทำได้ เพราะผู้ต้องขังแต่ละคนมีความรู้ความสามารถที่ต่างกัน สำหรับค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขังควรแก้ไขปรับปรุงดังนี้ (1) กำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำไว้เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ต้องขัง (2) กำหนดความผิดทางวินัยซึ่งมีผลต่อการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานของผู้ต้องขัง (3) การยื่นคำร้องทุกข์ต้องไม่มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎข้อบังคับ วัตถุประสงค์ และเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่เกี่ยวกับการฝึกวิชาชีพและค่าตอบแทนการทำงาน รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ ของผู้ต้องขัง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4480 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License