Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4490
Title: ปัญหาการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
Other Titles: Investigation of serious discipline of teachers and educational personnel under Teachers and Education Personnel act B.E. 2547
Authors: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติพงศ์ โนนจันทร์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการครู--วินัย
บุคลากรทางการศึกษา--วินัย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสอบสวนเพื่อลงโทษข้าราชการทางวินัยของต่างประเทศและนำมาเปรียบเทียบกับหลักที่ใช้ในการสอบสวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทย และศึกษาปัญหาในการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และตามกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 การศึกษาค้นคว้าได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารการวิจัย ทบทวน วรรณกรรม บทความทางวิชาการ วารสาร ตำราทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในเรื่องของหลักการสอบสวนเพื่อลงโทษข้าราชการทางวินัยของต่างประเทศได้ศึกษาจาก 2 ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นที่ยอมรับทั่วไป และทำการศึกษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 เพื่อเปรียบเทียบกับหลักการสอบสวนลงโทษข้าราชการทางวินัยของต่างประเทศว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันตลอดจนปัญหาในตัวบทกฎหมายของไทย ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า การดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และตามกฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับหลักกฎหมายของต่างประเทศ แต่ยังพบว่ามีปัญหาในทางปฏิบัติของบุคคล องค์คณะบุคคล และตามบทบัญญัติของกฎหมายในการใช้อำนาจดุลพินิจ อำนาจพิจารณา โดยเฉพาะปัญหาการกำหนดระยะเวลาในการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและการไม่กำหนดระยะเวลาหลังจากผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้พิจารณาสำนวนและรายงานไปที่สำนักงาน ก.ค.ศ.แล้ว ทั้งนี้จะได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4490
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons