กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4499
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems on enforcement of the organic act on state audit B.E.2561 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ สิริชัย กกแก้ว, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี งบประมาณ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย งบประมาณ การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี การควบคุมอำนาจรัฐและการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อศึกษากฎหมาย ปัญหาที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาวิเคราะห์จากวิทยานิพนธ์ หนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลอื่น ๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 มีข้อบกพร่องอยู่หลายประการที่จะทำให้การตรวจสอบการรับ – จ่ายเงินแผ่นดิน ขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐได้ คือ ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีอากรของหน่วยรับตรวจ ตามมาตรา 86 วรรคท้าย เป็นบทบัญญัติ ที่ห้ามผู้ว่าการตรวจสอบการประเมินการจัดเก็บภาษีอากรของหน่วยรับตรวจ การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของหน่วยรับตรวจ ตามมาตรา 89 เป็นบทบัญญัติ ที่ลิดรอนอำนาจการตรวจสอบก่อนจ่ายการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ว่าการ และการติดตามผลการตรวจสอบของผู้ว่าการ ตามมาตรา 85 เป็นบทบัญญัติ ที่มีเนื้อหาเป็นอุปสรรคในการติดตามผลการตรวจสอบของผู้ว่าการ เพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว จึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ให้มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับผลการศึกษาและประเด็นปัญหา ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้การตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4499 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License