Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4500
Title: การเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างเทศบาลเมืองนราธิวาสกับเทศบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
Other Titles: The comparison of management administration in terms of people services according to the sufficiency economy philosophy between Narathiwat and Sungaikolok Municipalities in Narathiwat Province
Authors: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มาริษา ตันติพรเดชา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
เทศบาลเมืองนราธิวาส--การบริหาร
เทศบาลเมืองนราธิวาส--การจัดการ
เทศบาลสุไหงโก-ลก--การบริหาร
เทศบาลสุไหงโก-ลก--การจัดการ
เศรษฐกิจพอเพียง
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อ (1) การ บริหารจัดการ (2) ปัญหา และ (3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัคการด้านการให้บริการประชาชนระหว่าง เทศบาลเมืองนราธิวาสกับเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ในจังหวัดนราธิวาส โดยนำการบริหารจัดการตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 8 ประการ ซึ่งประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การพึ่งตนเอง การเสริมสรัางคุณภาพคนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรมควบคู่กัน การรวมกลุ่ม การสรัางเครือข่าย และ ความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืนน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามชึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งการหา ค่าความเที่ยงตรงและความเชึ่อถึอได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.92 กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,402 คนแบ่งเป็น (1) ประชาชนที่อาคัยอยู่ในพื้นที่ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส (2) เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นเทศบาล เมืองนราธิวาส (3) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และ (4) เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก กลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถาม และเก็บรวบรวมแบบ กลับคืนมาได้ 1,303 ชุด เท่ากับร้อยละ 93.00 ของแบบสอบถามที่แจกออกไปทั้งหมด (1,402 ชุด) ในการ วิเคราะห'' ข้อมูลได้นำคอมพิวเตอร์และสถิติที่นำมาใช้ คือ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่า การบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 8 ด้านของเทศบาลทั้ง 2 แห่ง ไม่แตกต่างกัน (2) ปัญหาที่สำคัญ คือ เทศบาลทั้ง 2 แห่ง ไม่เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ และ (3) สำหรับแนวทางการ พัฒนาที่สำคัญ คือ เทศบาลทั้ง 2 แห่ง ควรฝึกอบรมหรือพัฒนาผู้บริหารทุกระดับให้มีความเข้าใจและเห็นถึง ความสำคัญของการรวมกลุ่มเพึ่อสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะ นอกจากนี้เทศบาลทั้ง 2 แห่ง ควรนำการ บริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับการบริหารจัดการด้านการให้บริการประชาชนใน อนาคตต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4500
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
107338.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons