Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสัญญา เวียงคำ, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T07:47:17Z-
dc.date.available2023-03-16T07:47:17Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4507-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “อำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาของ ตุลาการศาลปกครองคนเดียวในศาลปกครองชั้นต้น” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาของตุลาการศาลปกครองคนเดียว ในศาลปกครองชั้นต้น โดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับอำนาจของตุลาการศาลปกครองคนเดียว ในศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลยุติธรรมชั้นต้น และเสนอแนะแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจของตุลาการศาลปกครองคนเดียวในศาลปกครองชั้นต้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษา คำวินิจฉัย ของศาลปกครองชั้นต้น คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาศาลฎีกา หนังสือ บทความ วารสาร สื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ตุลาการศาลปกครองคนเดียวมีอำนาจในการมีคำสั่งในกรณี ที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าเป็นอำนาจของตุลาการเจ้าของสำนวน เช่น คำสั่งรับคำฟ้อง คำสั่ง ไม่รับคำฟ้องแย้ง คำสั่งเกี่ยวกับการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล เป็นต้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองยังบัญญัติให้มีอำนาจในการมีคำสั่งในเรื่องที่มิใช่การวินิจฉัย ชี้ขาดคดี แต่ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกลับกำหนดให้เรื่องที่มิใช่ การวินิจฉัยชี้ขาดคดีหลายเรื่องต้องกระทำโดยองค์คณะ และศาลปกครองสูงสุดเองมีคำวินิจฉัยว่า ต้องกระทำโดยองค์คณะ เช่น คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งไม่รับคำฟ้องเพิ่มเติม เป็นต้น และคดีบางประเภทที่มีลักษณะเดียวกันกับคดีที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษา คนเดียวในศาลยุติธรรมซึ่งควรให้อำนาจในการพิจารณาพิพากษาแก่ตุลาการศาลปกครองคนเดียว เช่น คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ให้อำนาจไว้ จึงควรที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเสนอให้ในทางปฏิบัติตุลาการศาลปกครองคนเดียวควรใช้อำนาจในการมีคำสั่งกรณีที่กฎหมายบัญญัติกำหนดว่า “ให้ศาลสั่ง” และควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้อำนาจ แก่ตุลาการศาลปกครองคนเดียวในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองบางประเภทได้ เพื่อให้ การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขความล่าช้าในการพิจารณาได้ส่วนหนึ่งth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการพิจารณาและตัดสินคดีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทยth_TH
dc.titleอำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาของตุลาการศาลปกครองคนเดียวในศาลปกครองชั้นต้นth_TH
dc.title.alternativeJudicial power to issue orders and make judgments of a Single Administrative Judge in the Administrative Court of First Instanceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study on judicial power to issue orders and make judgments of a single administrative judge in the administrative court of first instance aims to studied concepts, theories and legal principles related to judicial power to issue orders and make judgments of a single administrative judge in the administrative court of first instance. Judicial power of a single administrative judge in France was analyzed and compared judicial power of a single administrative judge in the administrative court of first instance. Solutions to problems regarding judicial power of a single administrative judge were suggested. This independent study is qualitative research. Data were acquired from laws related to judicial power to issue orders and make judgments of a single administrative judge in the administrative court of first instance, judgments of administrative courts, judgments of the Supreme Court, books, articles, journals, online articles and other related documents. It was found that a single administrative judge had power to issue orders when it is clearly stipulated in in laws that the power belonged to the judge receiving the plaints, rejection of counter-claims, order of enquiries in court, etc. In addition, the Act on Establishment of Administrative Courts and Administrative Court Procedure, B.E. 2542 (1999) provided that ordering power was not final judgments. However, the Rule of the General Assembly of Judges of the Supreme Administrative Court and judgments of the Supreme Administrative Court provided that judgments in many cases had be done given by a panel of administrative judges such as rejection of plaints, rejection of supplementary plaints, and so on. Some cases were similar to cases under judicial power of a single administrative judge in the administrative court of first instance such as cases involving properties or cash worth less than 300,000 Baht. There were no provisions on judgments by single administrative judges. Therefore, the laws should be amended so solve problems that occur by providing judicial power to a single administrative judge only if the law prescribed ‘as the Court orders’. The law should be amended to provide judicial power to a single administrative judge in certain administrative cases for quick prosecution processes and decrease in prosecution delaysen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons