กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4507
ชื่อเรื่อง: อำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาของตุลาการศาลปกครองคนเดียวในศาลปกครองชั้นต้น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Judicial power to issue orders and make judgments of a Single Administrative Judge in the Administrative Court of First Instance
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัญญา เวียงคำ, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพิจารณาและตัดสินคดี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “อำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาของ ตุลาการศาลปกครองคนเดียวในศาลปกครองชั้นต้น” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษาของตุลาการศาลปกครองคนเดียว ในศาลปกครองชั้นต้น โดยวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับอำนาจของตุลาการศาลปกครองคนเดียว ในศาลปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลยุติธรรมชั้นต้น และเสนอแนะแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับอำนาจของตุลาการศาลปกครองคนเดียวในศาลปกครองชั้นต้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจในการมีคำสั่งและการพิจารณาพิพากษา คำวินิจฉัย ของศาลปกครองชั้นต้น คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด คำพิพากษาศาลฎีกา หนังสือ บทความ วารสาร สื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ตุลาการศาลปกครองคนเดียวมีอำนาจในการมีคำสั่งในกรณี ที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่าเป็นอำนาจของตุลาการเจ้าของสำนวน เช่น คำสั่งรับคำฟ้อง คำสั่ง ไม่รับคำฟ้องแย้ง คำสั่งเกี่ยวกับการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาล เป็นต้น และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองยังบัญญัติให้มีอำนาจในการมีคำสั่งในเรื่องที่มิใช่การวินิจฉัย ชี้ขาดคดี แต่ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกลับกำหนดให้เรื่องที่มิใช่ การวินิจฉัยชี้ขาดคดีหลายเรื่องต้องกระทำโดยองค์คณะ และศาลปกครองสูงสุดเองมีคำวินิจฉัยว่า ต้องกระทำโดยองค์คณะ เช่น คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งไม่รับคำฟ้องเพิ่มเติม เป็นต้น และคดีบางประเภทที่มีลักษณะเดียวกันกับคดีที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษา คนเดียวในศาลยุติธรรมซึ่งควรให้อำนาจในการพิจารณาพิพากษาแก่ตุลาการศาลปกครองคนเดียว เช่น คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ให้อำนาจไว้ จึงควรที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเสนอให้ในทางปฏิบัติตุลาการศาลปกครองคนเดียวควรใช้อำนาจในการมีคำสั่งกรณีที่กฎหมายบัญญัติกำหนดว่า “ให้ศาลสั่ง” และควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยให้อำนาจ แก่ตุลาการศาลปกครองคนเดียวในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองบางประเภทได้ เพื่อให้ การพิจารณาพิพากษาคดีรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขความล่าช้าในการพิจารณาได้ส่วนหนึ่ง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4507
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons