กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4512
ชื่อเรื่อง: ความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ด้านการดูแลผู้สูงอายุของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Redundancy in elderly caregiving by the state and local governments
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาคร สิทธิศักดิ์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้สูงอายุ--การดูแล
ผู้สูงอายุ--การสงเคราะห์
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการจัดองค์กรของฝ่ายปกครองและการจัดทำบริการสาธารณะในด้านการดูแลผู้สูงอายุ 2. ศึกษาสภาพการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย 3. ศึกษาสภาพการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยกับต่างประเทศ 4. วิเคราะห์ประเด็นปัญหาความซํ้าซ้อนในอำนาจหน้าที่ด้านการดูแลผู้สูงอายุของรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ และ 5. เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการดูแลผู้สูงอายุระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเอกสาร ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจาก ตำรากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และบทความทางวิชาการ ผลการศึกษาพบว่าในการจัดทำบริการสาธารณะด้านการดูแลผู้สูงอายุมีการดำเนินการ ที่ซํ้าซ้อนกันระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากมีการถ่ายโอนภารกิจ และจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ โดยที่ยังไม่ได้มีการแบ่งแยกภารกิจกันให้ชัดเจน ผู้ศึกษาจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเพิ่มเติมบทบัญญัติให้มีสถานะเป็นกฎหมายพิเศษ กำหนดขอบเขตของอำนาจ และหน้าที่ระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ให้มีการทำภารกิจร่วมกันระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยมิให้ถือว่าเป็นการซํ้าซ้อนกัน และให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจและหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4512
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons