Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4513
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสิรินดา โชติพันธุ์, 2520- ผู้แต่ง.-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T07:59:36Z-
dc.date.available2023-03-16T07:59:36Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4513-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายอันเป็นที่มาของอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ศึกษาอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศ ศึกษาอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด ศึกษาความเป็นมาของการจัดตั้งพรรคการเมืองและการยุบพรรคการเมือง ศึกษาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ และศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีสั่งให้ยุบพรรคการเมือง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร ซึ่งได้รวบรวมจากตำรา กฎหมาย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และการสืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษา พบว่า แนวความคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและปกป้องคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญของไทยตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พบว่ามีหลากหลาย รวมถึงอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองได้หลายกรณี แต่จากการศึกษาพบว่า บางกรณีเกี่ยวกับการกระทำของพรรคการเมืองที่ต้องจัดทำเป็นประจำและต้องรายงานต่อองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การไม่จัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคในรอบปีปฏิทินให้เป็นไปตามกฎหมาย การไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนในรอบปีปฏิทินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและยื่นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด สมควรกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง บางกรณีเกี่ยวกับการกระทำของพรรคการเมืองที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจการตรวจสอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยุบพรรคการเมืองได้ แต่เพื่อความเป็นธรรมและเป็นการถ่วงดุลอำนาจการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สมควรให้พรรคการเมืองสามารถอุทธรณ์ ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองให้มีความชัดเจนว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยุบพรรคการเมืองในกรณีใด มีกรณีใดให้การวินิจฉัยเป็นที่ยุติในชั้นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกรณีใดสามารถอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และมีกรณีใดที่การยุบพรรคการเมืองเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectศาลรัฐธรรมนูญ--ไทยth_TH
dc.subjectการยุบพรรคการเมือง--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleวิเคราะห์อำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาสาเหตุการยุบพรรคการเมืองth_TH
dc.title.alternativeAnalysis of power and duties of the constitutional court : a study of causes for political party’s dissolutionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to study concepts, theories and the rule of law as the source of power of the Constitutional Court, power of the Constitutional Court of other countries, power of the Constitutional Court by the Constitution and laws, background of party establishment and dissolution of political parties, power regarding party dissolution of the Constitutional Court and decisions of the Constitutional Court order to dissolve political parties. This independent study is a qualitative study by means of documentary research. Textbooks, laws, provisions of the Constitution, provisions of the act on political parties, Constitutional Court ruling, thesis, research, and electronic queries were studied. The results of the study show that ideas of establishment of the Constitutional Court and power of the Constitutional Court in order to protect the supremacy of the Constitution and the democratic regime of government with the King as Head of State. However, it was shown that power of the Constitutional Court of Thailand as stated in the Constitution was variety and also included power of dissolving political parties according to the laws. The act on political parties included a provision empowering the Constitutional Court to dissolve political parties in many cases. However, the study found that some cases on actions of political parties such as do not preparing reports on operations of political parties in the past calendar year in accordance with the law and do not reports on spending money to support the calendar year based on facts and filed within the timeframe stated in the law, must be made regularly and organizations that are responsible for monitoring must be informed. Power of the Constitutional Court does not have to examine such preparing reports, but relevant organizations should be in charge such as the Election Commission. Moreover, when political parties have violated provisions of the law, they should be disbanded by the Election Commission. However, in order to be fair and to balance the power of the Election Commission, political parties should be able to appeal to the Constitutional Court. Furthermore, the provisions should be amended by determination which case Election Commission has power to dissolve political parties, which case should be finished at the Constitutional Court and which case can be appealed to the Election Commission in particularen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons