Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4513
Title: วิเคราะห์อำนาจหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ : ศึกษาสาเหตุการยุบพรรคการเมือง
Other Titles: Analysis of power and duties of the constitutional court : a study of causes for political party’s dissolution
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรินดา โชติพันธุ์, 2520- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาลรัฐธรรมนูญ--ไทย
การยุบพรรคการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายอันเป็นที่มาของอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ศึกษาอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศ ศึกษาอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด ศึกษาความเป็นมาของการจัดตั้งพรรคการเมืองและการยุบพรรคการเมือง ศึกษาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ และศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีสั่งให้ยุบพรรคการเมือง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเอกสาร ซึ่งได้รวบรวมจากตำรา กฎหมาย บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และการสืบค้นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษา พบว่า แนวความคิดในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญนั้น เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและปกป้องคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญของไทยตามที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ พบว่ามีหลากหลาย รวมถึงอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีบทบัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการเมืองได้หลายกรณี แต่จากการศึกษาพบว่า บางกรณีเกี่ยวกับการกระทำของพรรคการเมืองที่ต้องจัดทำเป็นประจำและต้องรายงานต่อองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้แก่ การไม่จัดทำรายงานการดำเนินกิจการของพรรคในรอบปีปฏิทินให้เป็นไปตามกฎหมาย การไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนในรอบปีปฏิทินให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและยื่นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด สมควรกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง บางกรณีเกี่ยวกับการกระทำของพรรคการเมืองที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจการตรวจสอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยุบพรรคการเมืองได้ แต่เพื่อความเป็นธรรมและเป็นการถ่วงดุลอำนาจการวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สมควรให้พรรคการเมืองสามารถอุทธรณ์ ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองให้มีความชัดเจนว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจยุบพรรคการเมืองในกรณีใด มีกรณีใดให้การวินิจฉัยเป็นที่ยุติในชั้นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกรณีใดสามารถอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ และมีกรณีใดที่การยุบพรรคการเมืองเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4513
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons