Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4515
Title: | การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
Other Titles: | People participation in supporting the management administration according to the sufficiency economy philosophy of Subdistrict Administrative Organizations in Nakornsawan Province |
Authors: | วิรัช วิรัชนิภาวรรณ จงจิตต์ ฤทธิ์หิรัญ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน เศรษฐกิจพอเพียง--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารจัดการ (2) ปัญหา และ (3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสมุนการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำการบริหารจัดการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย 8 ด้าน ได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การพึ่งตนเอง การเสริมสรัางคุณภาพคนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรมควบคู่กัน การรวมกลุ่ม การสรัางเครือข่าย และความสมดุลและการ พัฒนาที่ยั่งยึน มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม รวมทั้งการสัมภาษณ์แนวลึก เฉพาะผู้เชี่ยวชาญ แบบสอบถามสำหรับการวิจัยสนามนั้นได้ผ่านการทดสอบ รวมทั้งการหาค่า ความเที่ยงตรงและความเชี่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.95 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตาคลีและองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เล่ย์ รวม 1,223 คน หลังจากแจกแบบสอบถามไปแล้ว เก็บรวบรวมแบบสอบถามกลับคืนมาได้ 1,104 ชุด คิดเป็นรัอยละ90.30 ของแบบสอบถามที่แจกออกไปทั้งหมด (1,223 คน) สำหรับสถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ คือ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิชัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า ในภาพรวม องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน การบริหารจัดการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสูงทั้ง 8 ด้าน (2) ในส่วนของปัญหาที่สำคัญคือองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ยึดถือหลักประหยัด (3) สำหรับแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สำคัญคือ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ควรนำกรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในการศึกษาวิจัยในอนาคต และควรศึกษาเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4515 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
107633.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License