Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4523
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุกัญญา หอมชื่นชม, 2507--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-16T08:29:35Z-
dc.date.available2023-03-16T08:29:35Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4523-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่อง “ปัญหาการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสภาผู้แทนราษฎรของไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาข้อเสนอแนะในการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน รูปแบบวิธีการศึกษาใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยมีขอบเขตของการศึกษาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรฉบับปัจจุบัน (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551) และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสภาผู้แทนราษฎรของไทยมีปัญหาที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ปัญหาความล่าช้าในการพิจารณารับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินโดยนายกรัฐมนตรี ปัญหาการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกันเข้าสู่การพิจาณาของสภาผู้แทนราษฎร ปัญหาหลักเกณฑ์การพิจารณารับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน และปัญหาการให้การรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของนายกรัฐมนตรีกับความขัดกันกับหลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนและหลักการแบ่งแยกอำนาจผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาโดยยังคงให้อำนาจในการพิจารณารับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีแต่ให้มีการแก้ไขเรื่องนิยามของร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน บัญญัติเพิ่มเติมเรื่องระยะเวลาในการพิจารณาโดยกำหนดเวลาไว้ไม่เกิน 90 วัน หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จสามารถขอขยายเวลาเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 30 วันหากครบระยะเวลาแล้วนายกรัฐมนตรียังไม่สามารถพิจารณารับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินได้เสร็จให้เปลี่ยนตัวผู้ทำหน้าที่รับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจากนายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยบัญญัติเงื่อนไขเพิ่มให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบหากมีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลได้มีการวิเคราะห์ประเมินผลกระทบก่อนการพิจารณาตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรกับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินฉบับนั้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--งบประมาณ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth_TH
dc.titleปัญหาการเสนอร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสภาผู้แทนราษฎรของไทยth_TH
dc.title.alternativeThe problem of a money bill to propose to the House of Representatives, Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeAn Independent Study “The problem a money bill to propose to the House of Representatives”is aimed to study the problems of the methodology to propose a money bill to the House of Representatives and seek for suggestions to solve such the problems. The methodology of the study is documentary research. The scope of the study is focus on the substance concern to money bill as described in the present Constitution of the Kingdom of Thailand and Rules of Procedure of the House of Representatives (Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 andRules of Procedure of the House of Representatives B.E. 2551) and other relevant laws. The results of the study found that the methodology to propose a money bill to the House of Representatives has four major problems namely; (1) the delay in approving the money bill by the Prime Minister (2) the similar content of the propose money bills (3) the criteria to justify a money bill and (4) the power of the Prime Minister in approving a money bill is conflict with the principles of sovereignty of the people and the principles of separation of powers. To solve the problems, the study suggests that the Prime Minister should still has an authority to approve the money bill but the definition of a money bill should be amended and should be constituted for the duration of the scheduled time will not exceed 90 days and can extension only 30 days. If PM can notcompleted an approval within such a time, then the authority to approve the money bill should turn to the President of the House of Representatives. In this case the President has to inform Prime Ministerif a money bill is proposed to the House of Representatives in order that the government will have a time for analyzing and evaluating before making a decision to that money billen_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons