กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4538
ชื่อเรื่อง: มาตรการติดตามเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Measures to follow up on juvenile offenders after release from juvenile training centers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุขสันต์ ชื่นประยูร, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
การประเมินพฤติกรรมเด็ก
เด็กเกเร
เด็กที่เป็นปัญหา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องมาตรการติดตามเด็กและเยาวชนภายหลังปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดและเหตุผลในการติดตามเด็กและเยาวชนภายหลังได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เพื่อศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม คือ สถานพินิจและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน และครอบครัว ชุมชนที่เด็กและเยาวชนอาศัยอยู่ และเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวในประเด็นกรณีศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยทำการศึกษาจากหนังสือ บทความ เอกสาร งานวิจัย ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัย และนำมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการวิจัยต่อไป และหาข้อมูลจากเอกสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ผลจากการศึกษา พบว่า ภายหลังที่เด็กและเยาวชนได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์ฝึกและอบรมแล้ว แม้จะมีการติดตามพฤติกรรมหรือความเป็นอยู่ของเด็กและเยาวชนอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่ก็ไม่สามารถที่จะส่งเสริมหรือช่วยเหลือให้เด็กและเยาวชนผ่านพ้นวันเสี่ยงต่อสังคมอาชญากรรมได้ เพราะการติดตามเด็กและเยาวชนไม่ใช่งานหลักของศูนย์ฝึกและอบรม จะมีก็เพียงแต่นักสังคมสงเคราะห์ซึ่งมีในศูนย์ฝึกและอบรมแห่งละ 1-2 คน จำนวน 18 แห่งทั่วประเทศไทย การจะติดตามเด็กและเยาวชนที่ปล่อยจากศูนย์ฝึกและอบรมซึ่งเป็นเด็กและเยาวชนที่มาจากทุกจังหวัด จำนวน 77 จังหวัด นั้นไม่อาจเป็นไปได้ด้วยเงื่อนไขของอัตรากาลังเจ้าหน้าที่และยังไม่มีกฎหมายใดบัญญัติมาตรการการทางานนี้ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวก็ไม่ได้บัญญัติการทางานในเรื่องนี้ การศึกษาพบว่าควรนำรูปแบบขององค์กร 180 ในประเทศเนเธอร์แลนด์มาใช้คือการมี IRC เจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวกลางในการจะหาเครือข่ายและส่งเด็กและเยาวชนต่อให้กับเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา นายจ้าง ครอบครัว ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน และต้องมีการกำหนดรูปแบบงานให้ชัดเจนเป็นกฎหมายเพื่อให้มีงบประมาณ อัตรากาลังรองรับต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4538
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons