Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุทธดา คงเดชา, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-03-17T02:01:09Z-
dc.date.available2023-03-17T02:01:09Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4548-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง “ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีการทุจริตการเลือกตั้ง ” นี้ ผู้เขียนในฐานะที่ทำงานอยู่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยเฉพาะได้มีโอกาสสัมผัสกับการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นในหลาย ๆ คราว ได้พบทั้งสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการจงใจ หรือการหลีกเลี่ยงกระทำการ หรือละเว้นกระทำการที่ถือเป็นการทุจริตหรือก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมเกิดขึ้น อาทิ ในเรื่องของการซื้อสิทธิขายเสียง การใช้อิทธิพลคุกคาม ข่มขู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งการจูงใจ ล่อลวง ขู่เข็ญ เป็นต้น อันนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายทั้งหลายที่กล่าวแล้วนั้น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และพัฒนาการทางการเมือง ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางกฎหมาย ควรมีวิธีการวิจัยทางเอกสาร ปัญหาการเลือกตั้งของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเพราะถือเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศในที่สุด กล่าวคือ หากการเมืองในระดับท้องถิ่นเข้มแข็งมีกลไกการตรวจสอบที่สมบูรณ์เพียงพอย่อมหวังได้ว่าการเมืองในระดับประเทศย่อมบรรลุถึงความเจริญในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าศึกษาบรรดากฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกตั้ง และศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อันนำไปสู่ปัญหาในการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม และข้อเท็จจริงที่เกิดการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้พยายามเสนอกรอบของปัญหา เพื่อใช้เป็นกรอบเบื้องต้น และเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยของรายงานนี้ โดยได้นำแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการทุจริตการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นหลักในการศึกษาวิเคราะห์ข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ได้จากคำร้อง วิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากคำร้อง และมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดจนคำวินิจฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมไปถึงคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้อง และได้วิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบกับปัญหาการเลือกตั้งบางประการของบางประเทศ เพื่อความสมบูรณ์ของรายงานนี้ นอกจากนั้น ผู้เขียนได้นำผลการศึกษาวิเคราะห์โดยตรงและผลข้างเคียง จัดทำเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะไว้ในบทท้ายของรายงานด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการเลือกตั้ง--การทุจริตth_TH
dc.subjectการเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีการทุจริตการเลือกตั้งth_TH
dc.title.alternativeThe problems of enforcement of the act on the elections of members of the local assemblies or local administrators B.E. 2545 : the electoral frauds as case studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons