กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4548
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีการทุจริตการเลือกตั้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problems of enforcement of the act on the elections of members of the local assemblies or local administrators B.E. 2545 : the electoral frauds as case study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุทธดา คงเดชา, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเลือกตั้ง--การทุจริต
การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีการทุจริตการเลือกตั้ง ” นี้ ผู้เขียนในฐานะที่ทำงานอยู่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยเฉพาะได้มีโอกาสสัมผัสกับการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นในหลาย ๆ คราว ได้พบทั้งสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดจากการจงใจ หรือการหลีกเลี่ยงกระทำการ หรือละเว้นกระทำการที่ถือเป็นการทุจริตหรือก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมเกิดขึ้น อาทิ ในเรื่องของการซื้อสิทธิขายเสียง การใช้อิทธิพลคุกคาม ข่มขู่ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีทั้งการจูงใจ ล่อลวง ขู่เข็ญ เป็นต้น อันนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายทั้งหลายที่กล่าวแล้วนั้น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และพัฒนาการทางการเมือง ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางกฎหมาย ควรมีวิธีการวิจัยทางเอกสาร ปัญหาการเลือกตั้งของสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเพราะถือเป็นปัจจัยพื้นฐานต่อการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศในที่สุด กล่าวคือ หากการเมืองในระดับท้องถิ่นเข้มแข็งมีกลไกการตรวจสอบที่สมบูรณ์เพียงพอย่อมหวังได้ว่าการเมืองในระดับประเทศย่อมบรรลุถึงความเจริญในระบอบประชาธิปไตยของประเทศ ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าศึกษาบรรดากฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกตั้ง และศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อันนำไปสู่ปัญหาในการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม และข้อเท็จจริงที่เกิดการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้พยายามเสนอกรอบของปัญหา เพื่อใช้เป็นกรอบเบื้องต้น และเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยของรายงานนี้ โดยได้นำแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการทุจริตการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นหลักในการศึกษาวิเคราะห์ข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ได้จากคำร้อง วิเคราะห์ประเด็นปัญหาจากคำร้อง และมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตลอดจนคำวินิจฉัยสั่งการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมไปถึงคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้อง และได้วิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบกับปัญหาการเลือกตั้งบางประการของบางประเทศ เพื่อความสมบูรณ์ของรายงานนี้ นอกจากนั้น ผู้เขียนได้นำผลการศึกษาวิเคราะห์โดยตรงและผลข้างเคียง จัดทำเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะไว้ในบทท้ายของรายงานด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons