กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4557
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง : กรณีการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems of the impartiallity of the administration court procedures : disciplinary cases operated to teacher and educational person under the office of education commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัฏฐิญา สิริบวรพิพัฒน์ สุทธิศักดิ์ แก้วจินดา, 2498- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการครู--วินัย บุคลากรทางการศึกษา--วินัย การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเป็นมา แนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการทางปกครอง การดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปัญหาความเป็นกลางและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาความเป็นกลางในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาวิจัยเอกสารโดยมุ่งวิเคราะห์ถึงปัญหาความเป็นกลาง ตามบทบัญญัติในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะต้องกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่กระทำตามอำเภอใจและ ผู้มีอำนาจพิจารณาจะต้องไม่มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น กล่าวคือจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีอคติในเรื่องที่พิจารณา หลักความเป็นกลางของผู้มีอำนาจพิจารณา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 การพิจารณาทางปกครองหากฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวย่อมทำให้การนั้นเสียไป ปัญหาความเป็นกลางในการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคือ ปัญหาของบุคคลและองค์คณะบุคคล ที่มีอำนาจในการพิจารณาการดำเนินการทางวินัย ตลอดจนการมีมติ และการออกคำสั่งลงโทษทางวินัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาซึ่งอาจจะทำให้มีอคติและความลำเอียง ตลอดจนมีการพิจารณาที่ซ้ำซ้อนจากบุคคลหรือองค์คณะเดียวซึ่งขัดกับหลักความเป็นกลางที่กฎหมายบัญญัติไว้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้คือ กรรมการที่มีอำนาจพิจารณาการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาไม่ควรเข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ๆ และกรณีมีการจัดตั้งองค์กรที่แยกเป็นอิสระในการพิจารณาอุทธรณ์ทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นการเฉพาะคำสำคัญ ความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4557 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License