กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4560
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนตามความคิดเห็นของนักศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The uses of online social media for learning as perceived by undergraduate students in the Faculty of Information Technology of Sripatum University, Chon Buri Campus
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
แอนนา ปิติวงษ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์--การศึกษาและการสอน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนตามความคิดเห็น ของนักศึกษาปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาตรีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 222 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนตามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า โดยภาพรวมนักศึกษาใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาการใช้ทั้ง 5 ด้านอยูในระดับมาก โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) ด้านพฤติกรรมของนักศึกษาในการใช้ สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียน นักศึกษาใช้สมาร์ทโฟน ระยะเวลาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ช่วงค่ำ เวลา 18.01–22.00 น. และใช้ที่บ้าน (2) ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อศึกษาข้อมูลการเรียน ใช้เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับตารางสอน โดยใช้เฟซบุ๊กเป็นช่่องทางการศึกษาข้อมูลการเรียน ประโยชน์ที่ได้ คือ การเรียนของนักศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปัญหาที่พบ คือ ต้องได้รับการอนุญาตก่อนการเข้าถึงข้อมูลการเรียนทำให้เกิด ความล่าช้าในการใช้งาน (3) ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา นักศึกษาปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนคำร้องต่างๆ กับอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับการให้คำแนะนำการจัดทำโครงงาน โดยใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางการปฏิสัมพันธ์ ประโยชน์ที่ได้ คือ ช่วยลดช่องว่างระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ปัญหาที่พบ คือ ช่วงเวลาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาไม่ตรงกัน (4) ด้านการใช้สื่อ สังคมออนไลน์ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับนักศึกษา เป็นการแบ่งปันความรู้หรือข้อมูลการเรียนกับนักศึกษาด้วยกัน ช่่องทางการปฏิสัมพันธ์ คือ เฟซบุ๊ก ประโยชน์ที่ได้ คือ นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้าน การเรียน ปัญหาที่พบ คือ ช่วงเวลาการปฏิสัมพันธ์ไม่ตรงกัน และ (5) ด้านการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลประกอบกิจกรรมในการทำรายงาน และใช้ยูทูปเป็นช่องทาง ประโยชน์ที่ได้ คือ นักศึกษาใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ปัญหาที่พบ คือ การเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้บางครั้งมี ความล่าช้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4560
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_146274.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons