กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4567
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problem with the legislation cutting the administrative court |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีรเดช มโนลีหกุล สุทธิวัฒน์ มาศพันธ์, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ศาลปกครอง--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครอง เป็นการศึกษากรณีพระราชกำหนดการบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 พระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2558 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ลงวันที่ 29 เมษายน 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติตัดอำนาจศาลปกครองไม่ให้พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำทางปกครองต่าง ๆ ของฝ่ายปกครอง ทั้งที่คดีดังกล่าวเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย หลักนิติรัฐ หลักประกันสิทธิการฟ้องคดีต่อศาลปกครองของต่างประเทศ การกระทำทางปกครอง ระบบศาล ระบบวิธีพิจารณาคดี เขตอำนาจและคำบังคับของศาลปกครอง รวมทั้งการดำเนินคดีในศาลปกครอง เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อันจะทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยทำการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลแพ่ง และบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นเนื้อเรื่องในแต่ละบทนำไปสู่การวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกฎหมายทั้งสี่ฉบับดังกล่าวที่มีบทบัญญัติตัดอำนาจศาลปกครอง ทำให้ได้บทสรุปที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นอีกอย่างเป็นรูปธรรม ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายที่มีบทบัญญัติตัดอำนาจของศาลปกครองได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับหลักนิติรัฐและความเชี่ยวชาญของศาลตามลักษณะและประเภทของคดี ปัญหาเกี่ยวกับความสะดวกของคู่ความในการดำเนินคดี ปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีละเมิดเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือความรับผิดอย่างอื่น และปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักกฎหมายปกครองและวิชาชีพนักกฎหมายมหาชนในประเทศไทย ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จะออกใช้บังคับในอนาคตบัญญัติเขตอำนาจของศาลปกครองและศาลยุติธรรมให้มีลักษณะเป็นการทั่วไปครอบคลุมคำฟ้องทุกประเภทของคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของแต่ละศาล โดยไม่มีคำว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ห้อยท้ายไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลปกครอง และในการออกกฎหมายฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชนในการดำเนินคดีซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายไม่ให้กระทบกระเทือนประชาชนผู้ได้รับความเสียหายในสิทธิการฟ้องคดีละเมิดในทางปกครองหรือความรับผิดอย่างอื่นเพื่อให้คดีดังกล่าวได้รับการพิจารณาโดยศาลที่มีอำนาจอย่างแท้จริง และคำนึงถึงเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลปกครองในระบบศาลคู่ตามหลักนิติรัฐเพื่อให้หลักกฎหมายปกครองและวิชาชีพนักกฎหมายมหาชนได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียมกับรัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4567 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License