กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4569
ชื่อเรื่อง: การใช้โทรทัศน์อัจฉริยะเพื่อการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of SMART TV for : Instruction of Teachers in Primary Schools under Surat Thani Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรุณโรจน์ ยิ่งคำนึง, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะเพื่อการเรียนการสอนของ ครูโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ไนการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 345 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะเพื่อการเรียนการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะของครูโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 7 อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน โดยด้านการวางแผนและการเตรียมการ ครูมีการวิเคราะห์นักเรียนก่อน นำโทรทัศน์อัจฉริยะไปใช้ด้านขั้นการนำไปใช้ครูใช้โทรทัศน์อัจฉริยะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจการ เรียนและครูใช้โทรทัศน์อัจฉริยะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ไต้รวดเร็วขึ้น และต้านการประเมิน ครูมีการนำผล การประเมินมาใช้ปรับปรุงในการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ (2) ปัญหาในการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ โดยภาพรวม อยู่ในระดับห้อย และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ด้าน โดยด้านเตรียมการสอน ครู ขาดการแนะนำในการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ ด้านระหว่างสอน ครูประสบปัญหาโทรทัศน์อัจฉริยะขัดข้อง ในขณะที่ใช้และขั้นประเมิน ครูขาดความรู้ในการประเมินการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ และ (3) ความต้องการ ในการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน โดย ด้านความต้องการด้านการวางแผนเตรียมการและใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ ครูต้องการคู่มือ เกี่ยวกับการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ ด้านความต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหาร ครูต้องการให้ผู้บริหารเห็น ความสำคัญของการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ และด้านความต้องการความรู้ในการใช้โทรทัศน์อัจฉริยะ ครูต้องการแอพพลีเคชั่น/เว็บไซต์ผ่านโทรทัศน์อัจฉริยะที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4569
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_155591.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons