กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/456
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในมาตรการบังคับทางปกครองศึกษาเฉพาะกรณีการบังคับชำระหนี้เงิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of applying the code of civil procedure to administrativee measures. Case study : forced repayment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสิกร อุปพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมชาย จุลนิติ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยสิริ มั่งศิริ, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
วิธีพิจารณาความแพ่ง
การชำระหนี้
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัญหาการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในมาตรการบังคับทาง ปกครอง ศึกษาเฉพาะกรณีการบังคับชำระหนี้เงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของแนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับมาตรการบังคับทางปกครอง 2) ศึกษาวิธีการบังคับตามมาตรการบังคับทางปกครองที่กำหนดให้ชำระหนี้เงิน 3) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการบังคับทางปกครองที่กำหนดให้ชำระหนี้เงิน 4) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการนำการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้กับกรณีมาตรการบังคับทางปกครองที่บังคับให้ชำระเงิน 5) วิเคราะห์ถึงปัญหาการบังคับใช้มาตราบังคับทางปกครองกรณีการบังคับชำระหนี้เงิน 6) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 เรื่องอำนาจในการยึด หรืออายัดทรัพย์สิน ระหว่างเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจใช้มาตรการบังคับทาง ปกครองและเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาล หรือแม้แต่ในระหว่างเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองด้วยกันเอง 7) เผยแพร่แนวคิดและทฤษฎีในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาคบังคับคดี เพื่อประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้กับการบังคับตามมาตรการบังคับทางปกครอง กรณีบังคับชำระหนี้เงิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร จากคำพิพากษาของศาลฎีกา ตำรา กฎหมาย บทความทางวิชาการ เอกสารประกอบการสัมมนา เพื่อนำมาเป็นฐานในทางทฤษฎี และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่บทสรุปโดยวิธีพรรณา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ที่ให้บังคับชำระหนี้เงินนั้น มีทั้งหมด 3 ปัญหา คือ 1) ปัญหาความซ้ำซ้อนกันของการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน 2) ปัญหาเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาในการบังคับคดีโดยนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในคำสั่งให้ใช้เงินของผู้มีอำนาจบังคับทางปกครอง 3 ) ปัญหาเกี่ยวกับความไม่เชื่อถือในอำนาจบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ในปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยขอเสนอให้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 โดยเพิ่มเติมให้มีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมายอื่น ลงไปในมาตรา 290 ต่อจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจทางภาษีอากรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติและเสนอข้อแก้กฎหมายให้กรมบังคับคดีมีอำนาจบังคับคดีปกครองได้ด้วย เพราะเป็นหน่วยงานที่มีความชำนาญในการยึด อายัด และขายทอดตลาด ทั้งยังมีหน่วยงานกระจายอยู่ทุกศาลทั่วประเทศอยู่แล้ว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/456
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib151577.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons